US B-1/B-2 Visa : US Business/Tourist Visa

 

ขอวีซ่าอเมริกา 7 ขั้นตอน ข้อมูลครบ [คำถามสัมภาษณ์ & เตรียมเอกสาร 2023]    

สถานทูตอเมริกาในกรุงเทพฯ หรือสถานกงสุลอเมริกาในเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกวีซ่าอเมริกาให้กับผู้ยื่นคำร้องขอวีซ่าท่องเที่ยวอเมริกา วีซ่าธุรกิจ หรือวีซ่าชั่วคราวอเมริกา (US Nonimmigrant Visas) เพื่อเดินทางเข้ามาในสหรัฐอเมริกาเป็นระยะเวลาชั่วคราว 

หมายเหตุบจก.ไทย-แคนาดา กรุ๊ป ไม่ได้รับทำวีซ่าอเมริกาท่องเที่ยวหรือชั่วคราว เรารับทำวีซ่าถาวรอเมริกาประเภทนักลงทุน เท่านั้น!  


สนใจโปรแกรมวีซ่าถาวรนักลงทุนอเมริกา (US EB-5) ช่องทางด่วนขอกรีนการ์ดอเมริกา เป็นพลเมืองอเมริกัน ถือสัญชาติและพาสปอร์ตอเมริกา คลิกที่นี่ 

 

 

ขอวีซ่าถาวรและสัญชาติทั่วโลก 
โปรแกรมนักลงทุน

(Residence & Citizenship By Investment)
โปรดคลิกดูข้อมูลด้านล่างนี้

 


วีซ่าอเมริกาประเภท B-1/B-2
 

วีซ่าอเมริกา B-1/B-2 เป็นวีซ่าชั่วคราวสำหรับผู้ต้องการเดินทางมายังสหรัฐอเมริกา วีซ่าเพื่อติดต่อธุรกิจเรียกว่า "วีซ่าธุรกิจอเมริกา" (B-1 visa) วีซ่าเพื่อการท่องเที่ยวหรือรับบริการทางการแพทย์ เรียกว่า "วีซ่าท่องเที่ยวอเมริกา" (B-2 visa)
 

โดยปรกติ วีซ่าธุรกิจอเมริกา B-1 ใช้สำหรับผู้เดินทางไปติดต่อธุรกิจกับคู่ค้าในอเมริกา เข้าร่วมอบรมหรือสัมนาทางด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา ด้านวิชาชีพหรือธุรกิจ หรือเพื่อจัดการด้านทรัพย์สิน หรือเจรจาสัญญาต่างๆ ฯ
 

ส่วนวีซ่าท่องเที่ยวอเมริกา B-2 ใช้เพื่อการเดินทางท่องเที่ยวสันทนาการเป็นหลัก รวมถึงไปเยี่ยมเพื่อนหรือญาติ เพื่อขอรับบริการทางการแพทย์ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ด้านสังคม รวมถึงเข้ารับการบริการในด้านต่างๆ ฯ 

*โดยทั่วไปแล้ว วีซ่าธุรกิจ B-1 และวีซ่าท่องเที่ยว B-2 อนุมัติพร้อมกันเป็นวีซ่าเดียว รวมเรียกว่า "วีซ่าชั่วคราวอเมริกา" (US B-1/B-2 visa) 

 

ผู้ขอวีซ่าอเมริกา B-1/B-2 มีคุณสมบัติอย่างไร

การขอวีซ่าชั่วคราวอเมริกา B-1/B-2 ผู้ยื่นขอวีซ่าต้องนำเสนอต่อเจ้าหน้าที่กงสุลอเมริกาให้เห็นว่า ตนเองมีคุณสมบัติสมควรได้รับวีซ่าอเมริกา ตามบทบัญญัติในกฏหมายตรวจคนเข้าเมืองและพลเมืองของอเมริกา US Immigration and Nationality Act (INA) มาตรา 214(b) ที่ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า “ผู้ขอวีซ่าชั่วคราวอเมริกา B-1/B-2 ทุกคน มีเจตนาโยกย้ายถิ่นฐานถาวร” ดังนั้น เพื่อให้วีซ่าอเมริกาผ่านการอนุมัติ ผู้ขอวีซ่าต้องหักล้างข้อสมมุติฐานนี้ โดยแสดงหลักฐานให้เห็นได้ว่า:

-    วัตถุประสงค์การไปอเมริกา เป็นการเข้าไปแบบชั่วคราวเช่น ไปติดต่อธุรกิจ ท่องเที่ยว หรือรับบริการทางการแพทย์

-     มีแผนการไปพำนักอาศัยในอเมริกาเป็นการชั่วคราว และช่วงระยะเวลาพำนักอาศัยมีกำหนดการที่ชัดเจน

-     แสดงหลักฐานการเงินที่เพียงพอ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในระหว่างพำนักอาศัยในสหรัฐอเมริกา

-     ผู้ยื่นขอวีซ่าอเมริกามีถิ่นพำนักถาวรเป็นหลักแหล่งนอกประเทศสหรัฐอเมริกา มีความผูกพันทางด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างแข็งแรงกับประเทศที่พำนักอาศัยหรือประเทศบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อเป็นหลักประกันว่า ความผูกพันนี้จะดึงดูดให้ผู้ขอวีซ่าเดินทางกลับออกไปเมื่อสิ้นสุดภาระกิจในอเมริกา

 -     นอกเหนือจากนี้ กฏหมายอิมมิเกรชั่นอเมริกากำหนดไว้ว่า ชาวต่างชาติบางคนอาจมีคุณสมบัติที่ไม่สามารถยื่นขอวีซ่าได้เช่น เป็นโรคติดต่อหรือมีโรคร้ายแรง มีประวัติอาชญากรรม เป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ฝ่าฝืนกฏหมาย หรือลักลอบเข้าเมือง เป็นต้น
   

 

วีซ่าชั่วคราวอเมริกาประเภทอื่นๆ
ประเภทวีซ่าอเมริกา แบบชั่วคราวมีดังต่อไปนี้ :

วีซ่าทำงาน (Work Visa) แบ่งออกเป็น
- วีซ่า H (นักวิชาชีพ, แรงงานฝีมือ, แรงงานทั่วไป, แรงงานเกษตรกรรม) เช่น วีซ่านักวิชาชีพผู้ชำนาญงาน H-1B วีซ่าฝึกอบรมงาน H3 ; 
- วีซ่า L (ย้ายไปรับตำแหน่งในบริษัทที่อเมริกา) เช่น วีซ่าโอนย้ายงาน L1 ;
- วีซ่า O (ผู้มีพรสวรรค์พิเศษด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ธุรกิจ กีฬา หรือ ภาพยนตร์) เช่น วีซ่า O1 ;
- วีซ่า P (นักแสดง นักกรีฑา หรือศิลปิน ผู้มาแสดงในอเมริกา) เช่น วีซ่าผู้ให้ความบันเทิง P1 วีซ่าสำหรับศิลปิน P2 ; และ
- วีซ่า Q (โปรแกรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม)

วีซ่านักเรียน (Student Visa) แบ่งออกเป็น วีซ่า F-1 (เรียนโปรแกรมวิทยาลัย มหาวิทยาลัย โรงเรียนไฮสกูลเอกชน/รัฐบาล เรียนภาษาอังกฤษ หรือหลักสูตรเรียนมากกว่า 18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์), วีซ่า M-1 (เรียนสายอาชีพ หรือฝึกงาน)
* ในปี 2020 กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ (Department of State) แถลงว่า โปรแกรมนักศึกษาต่างชาตินำเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอเมริกามากกว่า $39 พันล้านดอลล่าร์ รวมถึงสร้างงานให้กับคนอเมริกันกว่า 410,000 ตำแหน่ง  
วีซ่าโครงการแลกเปลี่ยน (Exchange Visitor Visa) วีซ่า J สำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ นักวิชาชีพ ผู้ฝึกงาน ฯ เพื่อเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนในด้านการศึกษา ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น วีซ่าแลกเปลี่ยน J-1
วีซ่าผู้ประกอบการและนักลงทุน (Treaty Traders and Treaty Investor Visas) วีซ่า E-1 สำหรับผู้เข้ามาทำกิจการค้า และ E-2 สำหรับผู้เข้ามาลงทุนในธุรกิจ
วีซ่าผู้ทำงานด้านศาสนา (Religious Worker Visa) วีซ่า R สำหรับผู้เข้ามาประกอบศาสนกิจเป็นการชั่วคราวในอเมริกา
วีซ่าผู้ทำงานด้านวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน (Journalist and Media Visa) วีซ่า I ออกให้กับผู้ทำงานด้านสื่อสารมวลชนที่เข้ามาปฎิบัติงานเป็นการชั่วคราวในอเมริกา
วีซ่าคนงานช่วยทำงานในบ้าน (Domestic Employee Visa) อาจขอเป็น วีซ่า B-1


 

ขั้นตอนการขอวีซ่าอเมริกา 

Step 1 : ขอวีซ่าออนไลน์ที่เว็บไซต์ศูนย์บริการข้อมูลวีซ่าอเมริกาสำหรับประเทศไทย

Step 2 : กรอกแบบฟอร์มขอวีซ่าอเมริกาออนไลน์ (DS-160)

Step 3 : สร้างโปรไฟล์ส่วนตัว

Step 4 : ชำระค่าธรรมเนียม

Step 5 : จองวันสัมภาษณ์

Step 6 : สัมภาษณ์ที่สถานทูต/สถานกงสุลอเมริกาในประเทศไทย

Step 7 : ส่งคืนพาสปอร์ต

  

แบบฟอร์มและเอกสารขอวีซ่าอเมริกา

เอกสารนำไปสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา

เอกสารเพิ่มเติม

กระบวนการสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา

คำถาม-คำตอบสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา

ติดต่อสถานทูต/สถานกงสุลอเมริกา

ข่าวสารวีซ่าอเมริกา (ล่าสุด)

วีซ่าชั่วคราวอเมริกาผู้ประกอบการและนักลงทุน (E-1/E-2)

วีซ่าถาวรอเมริกาประเภทนักลงทุน (EB-5)

คำถาม-คำตอบทั่วไป

 

 

 

 

 

แบบฟอร์มและเอกสารขอวีซ่าอเมริกา

การยื่นวีซ่าอเมริกาแบบธุรกิจ หรือวีซ่าท่องเที่ยวอเมริกา (business/tourist visa) ต้องยื่นเอกสารดังต่อไปนี้:

  • แบบฟอร์มขอวีซ่าอเมริกาออนไลน์ Nonimmigrant Visa Electronic Application (DS-160) ไปที่เว็บเพจ DS-160
  • พาสปอร์ตมีอายุอย่างน้อย 6 เดือน นับจากวันสุดท้ายหลังไปพำนักในอเมริกา (ประเทศไทยอยู่ในลิสต์ของ กลุ่มประเทศได้รับยกเว้นเงื่อนไขนี้) 
  • รูปถ่ายพาสปอร์ตหนึ่งใบ ขนาด 2”x 2” (5 cm x 5 cm) ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน ดูสเปครูปถ่ายขอวีซ่าอเมริกา 
  • ใบเสร็จค่าธรรมเนียมวีซ่าอเมริกา จำนวน US$160 ดูราคาค่าธรรมเนียมทำวีซ่าอเมริกา เป็นอัตราเงินบาท ที่เว็บนี้
  • จดหมายนัดสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา (Interview appointment letter) ท่านได้จองวันสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา ที่เว็บนี้ 
  • เอกสารประกอบ: ผู้ยื่นขอวีซ่าอเมริกา ยื่นเอกสารเพิ่มเติมใดๆต่อเจ้าหน้าที่กงสุลก็ได้ หากเอกสารนั้นเป็นประโยชน์ และสนับสนุนเคสให้มีความแข็งแรง 

หมายเหตุ: นอกเหนือจากข้อมูลที่ได้กรอกลงในแบบฟอร์มขอวีซ่าอเมริกาออนไลน์ เอกสารประกอบการขอวีซ่าอเมริกา เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เจ้าหน้าที่กงสุลนำมาใช้ร่วมในการตัดสินใจ โดยเจ้าหน้าที่พิจารณาคำร้องขอวีซ่าแต่ละบุคคลอย่างเป็นอิสระต่อกันภายใต้กรอบกฏหมาย โดยวิเคราะห์อาชีพการงาน ประเมินสถานะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆ การตัดสินใจให้วีซ่าอเมริกาผ่านหรือไม่ เจ้าหน้าที่กงสุลตรวจหาเหตุผลที่แท้จริงของการเดินทางไปอเมริกา ดูภาพรวมของครอบครัว และแผนการใช้ชีวิตระยะยาวในประเทศที่ผู้ขอวีซ่าและครอบครัวมีถิ่นพำนักอาศัยถาวร

* โดยทั่วไป การยื่นเอกสารรับรองการทำงานหรือเอกสารเกี่ยวกับธุรกิจ หลักฐานการเงินที่ดี สเตทเมนต์ธนาคารที่แข็งแรง และ/หรือเอกสารเกี่ยวกับครอบครัว สิ่งเหล่านี้อาจเพียงพอแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ของการเดินทางที่แท้จริง ยืนยันถึงเจตจำนงของท่านในการเดินทางกลับประเทศไทยหลังเสร็จสิ้นภาระกิจในอเมริกา การขอวีซ่าอเมริกาอาจผ่านการอนุมัติอย่างไม่มีปัญหาใดๆ 

** ควรยื่นหลักฐานแสดงถิ่นพำนักอาศัยถาวรในไทยและความผูกพันต่อประเทศไทย มากกว่าไปเน้นแสดงหลักฐานหรือการรับรองจากครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนของท่านที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา


โปรดระวัง:
 อย่านำเสนอเอกสารเท็จ การปลอมแปลงเอกสารหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง อาจส่งผลให้ท่านไม่มีคุณสมบัติในการขอวีซ่าอเมริกาตลอดไป โดนขึ้นบัญชีแบล็คลิสต์ห้ามเข้าอเมริกา โปรดตรวจสอบให้มั่นใจว่า ท่านตอบทุกคำถามในแบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าอเมริกาอย่างครบถ้วนและถูกต้อง ในวันสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่กงสุล คำตอบของท่านต้องสอดคล้องตรงกันกับข้อมูลที่ได้กรอกลงในใบคำร้องขอวีซ่าอเมริกา

  • เอกสารสำคัญหรือเอกสารลับเฉพาะใดๆ ควรอยู่ในซองปิดผนึกและประทับตราโดยหน่วยงานผู้ออกเอกสาร  สถานทูตหรือสถานกงสุลอเมริกันจะจัดเก็บรักษาข้อมูลทุกอย่างเป็นความลับและไม่เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว 
  • เอกสารนำติดตัวไปสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา ควรใช้เอกสารตัวจริง (ถ้ามี) ดูน่าเชื่อถือมากกว่าสำเนา ไม่ส่งเอกสารประกอบใดๆ ทางแฟกซ์ อีเมล์ หรือทางไปรษณีย์ ไปยังสถานทูตอเมริกา (ยกเว้นถูกร้องขอจากสถานทูตเท่านั้น)



เอกสารนำไปสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา

  • หลักฐานการเงิน เช่น สเตทเมนต์บัญชีธนาคารย้อนหลังอย่างน้อย 6-12 เดือน จดหมายรับรองธนาคารอัพเดตล่าสุด ผู้ยื่นวีซ่าอเมริกาควรเน้นบัญชีที่มียอดเงินมาก มีการหมุนเวียนที่ดี จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา
    *กรณีมีเงินในบัญชีไม่มาก ให้นำเสนอเอกสารอื่นๆ แสดงความแข็งแรงด้านอาชีพการงานหรือธุรกิจ (เช่น มีอาชีพที่มั่นคง มีแหล่งรายได้อื่น หรือมีผู้สนับสนุนด้านการเงินในการเดินทางครั้งนี้) หรือด้านสถานะสังคม (เช่น ขอจดหมายรับรองจากบุคคลสำคัญ ข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่น ครู แพทย์ หรือนักการศาสนา) สิ่งเหล่านี้อาจสนับสนุนเคสให้แข็งแรงขึ้นได้ (แล้วแต่กรณี case-by-case) 
    *ผู้ทำวีซ่าอเมริกาควรมียอดเงินในบัญชีเท่าไหร่? มีมากเท่าไหร่ยิ่งเป็นผลดี แต่บางท่านอาจมีเงินในบัญชีไม่ถึงแสนบาท หรือมีเพียงแสนสองแสนบาท ก็ยังยื่นได้ หากเจ้าหน้าที่กงสุลมั่นใจว่า ท่านมีอาชีพการงานที่ดี มีบ้านพักเป็นหลักแหล่ง มีครอบครัวอบอุ่น มีเงินเพียงพอครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และจะเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อเสร็จภาระกิจในอเมริกา วีซ่าอเมริกาผ่านการอนุมัติได้เช่นกัน

  • หลักฐานด้านภาษีหรือเอกสารแสดงการเป็นเจ้าของธุรกิจ เช่น สำเนาหนังสือรับรอง รายชื่อผู้ถือหุ้น ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) ใบทะเบียนพาณิชย์ (พ.ค. 0403) ใบทะเบียนการค้า (ท.ค. 0401) เป็นต้น
    *ผู้ทำวีซ่าอเมริกาอาจยื่นเอกสารประกอบอื่นๆเช่น โปรไฟล์ธุรกิจ (company profile) เว็บเพจ โบรชัวร์ แผ่นพับ รายงานประจำปี (annual report) ฯลฯ แล้วแต่ความเหมาะสม 
    **นักธุรกิจผู้ประกอบการขนาดเล็ก (SMEs) ผู้ทำอาชีพอิสระ (freelance) หรือพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย มีเงินหมุนเวียนในบัญชีไม่กี่แสนบาท หากนำเสนอได้ว่า ตนเองทำธุรกิจอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ มีธุรกรรมหรือกิจกรรมการค้าที่แข็งแรงแข็งขันและต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีหน้าที่รับผิดชอบสำคัญ และมีความผูกพันกับธุรกิจของตนเอง ที่จะดึงดูดให้เดินทางกลับไทยเมื่อเสร็จภาระกิจในอเมริกา วีซ่าอเมริกาผ่านการอนุมัติได้เช่นกัน
     
     
  • หลักฐานถือครองอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ เช่น สำเนาโฉนดบ้าน อาคาร ที่ดิน เอกสารราคาประเมินที่ดินจากสำนักงานที่ดิน (ใช้ได้เพียงพอ) หรือรายงานประเมินมูลค่าทรัพย์สินอย่างย่อ (Evaluation report) รูปถ่ายอสังหาริมทรัพย์ (ใช้รูปถ่ายเป็นภาพประกอบไปด้วย)
    *ผู้ขอวีซ่าบางท่านอาจนำเสนอภาพถ่ายบ้านเรือน อาคาร หรือรถยนต์ ฯ ที่ตนเองเป็นเจ้าของไปด้วยก็ได้  
    **ผู้ขอวีซ่าที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์มูลค่าไม่สูง ตัวอย่างเช่น เป็นเจ้าของกิจการห้องเช่าขนาดเล็ก หากยื่นเอกสารพิสูจน์ได้ว่า มีความรับผิดชอบที่สำคัญต้องดูแลอาคารและผู้เช่า เมื่อเสร็จภาระกิจในอเมริกาแล้วต้องรีบกลับมาประเทศไทย วีซ่าอเมริกาผ่านการอนุมัติได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ควรแนบหลักฐานการเงินที่ดีไปด้วย
       
     
  • หลักฐานแสดงทรัพย์สินอื่นๆ เช่น จดหมายรับรองจากสถาบันการเงิน แสดงการถือหุ้น พันธบัตร หน่วยลงทุนประเภทต่างๆ หรือ มูลค่าทุนประกันชีวิต เป็นต้น
    *ผู้ทำวีซ่าอเมริกาควรแสดงทรัพย์สินและการลงทุนให้มาก เป็นผลดีต่อการทำเรื่องขอวีซ่าอเมริกา
     
  • แผนการเดินทางไปอเมริกาโดยสังเขป เป็นภาษาอังกฤษ
    *ผู้ทำวีซ่าอเมริกาอาจจองตั๋วเครื่องบินหรือที่พักไว้ล่วงหน้า โดยจองแบบยังไม่ต้องชำระเงิน หรือแบบขอคืนเงินได้ โดยส่งสำเนาไป (อย่างไรก็ตาม การไม่จองตั๋วเครื่องบินและที่พักไว้ล่วงหน้า ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด)
     
  • จดหมายรับรองงานจากนายจ้าง ชี้แจงตำแหน่งงาน เงินเดือน ระยะเวลาทำงาน เหตุผลการลาไปท่องเที่ยว หรือ วัตถุประสงค์การไปติดต่อธุรกิจในอเมริกา แนบนามบัตรผู้เซ็นจดหมายรับรอง เป็นต้น
    *ผู้ทำงานกับองค์กรขนาดใหญ่เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานธนาคาร พนักงานบริษัทขนาดใหญ่ที่มั่นคง วีซ่าอาจได้รับอนุมัติโดยไม่ยุ่งยากนัก
    **ผู้ที่ทำงานกับบริษัทครอบครัวหรือองค์กรขนาดเล็ก นอกจากจดหมายรับรองมีรายละเอียดครบถ้วนดังกล่าวข้างต้น ควรแนบโบรชัวร์-เว็บเพจ-สื่อสิ่งพิมพ์ใดๆที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของธุรกิจและงานสำคัญๆที่อยู่ในความรับผิดชอบของท่าน ซึ่งจะดึงดูดให้ท่านเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจในอเมริกา 
    ***หากในอนาคตอันใกล้ มีนัดเรื่องงานประชุม อบรมสัมนา ต้องไปร่วมทริปท่องเที่ยวเดินทาง (ทั้งในหรือนอกประเทศ) ให้ยื่นหลักฐานไปด้วย เพื่อเน้นว่า เมื่อเสร็จภาระกิจในอเมริกาแล้ว จำเป็นต้องกลับมาร่วมกิจกรรมดังกล่าว
     
  • ประวัติอาชญากรรม / เอกสารบันทึกจากศาล (ถ้ามี) 
    *เฉพาะกรณีมีประวัติถูกจับกุมหรือถูกดำเนินคดีในที่ใดก็ตาม แม้อาจถูกลงโทษ หรือได้รับการอภัยโทษไปแล้วก็ตาม

  • เอกสารแสดงภาพรวมด้านเศรษฐกิจ การเงิน หรือธุรกรรมการค้า  
    *ในกรณีนักเรียนนักศึกษา ให้ใช้เอกสารด้านเศรษฐกิจการเงินของผู้ปกครอง 
    **ผู้เคยมีประวัติการหย่าร้าง (โดยเฉพาะสตรี) ควรยื่นขอวีซ่าด้วยความระมัดระวัง เตรียมเอกสารให้เห็นถึงความแข็งแรงด้านเศรษฐกิจ การเงิน และอื่นๆ เตรียมตอบคำถามสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกากับเจ้าหน้าที่กงสุล ให้เชื่อมั่นว่าท่านจะเดินทางออกไปจากอเมริกาแน่นอนเมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจ หากมีผู้เชิญในอเมริกาที่เป็นญาติหรือเพื่อน ควรเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เชิญให้พร้อม เพื่อนำเสนอต่อเจ้าหน้าที่กงสุล
      
  • อกสารแสดงความผูกพันกับประเทศไทยซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแสดงสถานะทางสังคม การมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม บทบาทด้านต่างๆ ของตนเอง ของครอบครัวหรือญาติสนิท โดยชี้ให้เห็นว่า ความผูกพันนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะดึงดูดให้เดินทางออกไป หลังเสร็จสิ้นภาระกิจในอเมริกา
    *ตัวอย่างเช่น ผู้ทำงานอาสาสมัคร ช่วยงานชุมชน ช่วยเหลือองค์กรการกุศล ให้ส่งจดหมายรับรอง หรือภาพถ่ายแสดงกิจกรรมต่างๆ ที่แสดงว่า มีภาระหน้าที่สำคัญ ทำให้ต้องกลับมาประเทศไทย
    ข้อสังเกตุ: ผู้ทำวีซ่าอเมริกาอาจยื่นรูปภาพประกอบไปด้วย อาจมีประโยชน์เช่นกัน ทำให้เจ้าหน้าที่กงสุลเข้าใจมากขึ้น สำหรับในกรณีเคสมีความซับซ้อน เช่น ผู้เคยยื่นวีซ่าอเมริกาไม่ผ่าน วีซ่าอเมริกาถูกปฏิเสธ หรือผู้ที่การเงินไม่แข็งแรงนัก งานอาชีพอาจไม่มั่นคง เป็นต้น
      
     
  • เอกสารแสดงประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ เช่น การไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ การอบรม ดูงาน ศึกษาต่อ เรียนหลักสูตรระยะสั้น/ระยะยาว ฝึกงาน เยี่ยมญาติ ในต่างประเทศ (ใช้รูปภาพประกอบได้) 
    *แม้ผู้ยื่นวีซ่าอเมริกาไม่ได้เดินทางบ่อย หรือไม่เคยเดินทางเลย วีซ่าอเมริกายังมีโอกาสผ่าน หากเจ้าหน้าที่เชื่อมั่นว่า ท่านมีความผูกพันที่แข็งแรงกับประเทศบ้านเกิดเมืองนอน 

    โปรดสังเกตุ :
    *กรณีผู้ขอวีซ่าเคยมีประวัติทำผิดกฏหมายเช่น พำนักอยู่ในอเมริกาเกินกำหนดเวลาได้รับอนุญาต (Overstayed US visas) ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต (Unauthorized employment) มีประวัติอาชญากรรม (Criminal history) ในอเมริกาหรือที่อื่นๆ เช่น คดีเมาแล้วขับ (Driving under the influence) ความผิดลหุโทษ (Misdemeanour) เป็นต้น การขอวีซ่าอเมริกาอาจไม่ผ่าน ถูกปฏิเสธ

    **ผู้เคยไปเรียนในอเมริกาหรือต่างประเทศเป็นเวลาหลายปี โดยเน้นโปรแกรมเรียนและทำงานไปด้วย (ตัวอย่างเช่น หลักสูตรประกาศนียบัตร เรียนและทำงานในออสเตรเลีย หรือประเทศอื่นๆ เป็นต้น) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำงานหาเงินหาประสบการณ์ ไม่ได้เป็นนักศึกษาอย่างแท้จริงที่ตั้งใจไปเรียน วีซ่าอเมริกาอาจไม่ผ่านและถูกปฏิเสธได้เช่นกัน ควรยื่นขอวีซ่าด้วยความระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นวีซ่านักเรียน หรือวีซ่าไปท่องเที่ยวอเมริกา 
    ***ผู้เคยไปเรียนหลักสูตรระยะยาวในอเมริกา เรียนจบและกลับมาประเทศไทยแล้ว อาจต้องการไปติดต่อขอรับเอกสารหรือไปติดต่องาน ไปเยี่ยมเพื่อน หรือไปท่องเที่ยวในอเมริกา ควรยื่นเอกสารขอวีซ่าอเมริกาให้แข็งแรงเช่นกัน เพราะเจ้าหน้าที่กงสุลอาจสอบถามว่า เพิ่งเรียนจบกลับมาแล้วทำไมต้องกลับไปอีก ปัจจุบันทำงานที่ไหน ตำแหน่งงานรับผิดชอบอย่างไร มีรายได้เท่าไหร่ เหล่านี้เป็นต้น ฯลฯ และหากเตรียมเคสไม่ดีพอ อาจถูกปฏิเสธวีซ่าได้เช่นกัน


    เอกสารเพิ่มเติม

    -           วีซ่านักเรียนอเมริกา ไปเรียนต่ออเมริกา (Students)

    ขอวีซ่าอเมริกานักเรียน ให้ยื่นผลการเรียนล่าสุดเช่น ใบรับรอง ทรานสคริปต์ ใบปริญญาบัตร/ประกาศนียบัตร รวมทั้งเอกสารด้านการเงินเช่น จดหมายรับรองและสเตทเมนต์ธนาคารย้อนหลัง  หลักฐานแสดงเงินฝากประจำ หุ้น พันธบัตร ประกันชีวิตต่างๆ เป็นต้น
    *นำเสนอเอกสารที่ชี้ให้เห็นว่า ท่านมีความตั้งใจไปศึกษาต่อในอเมริกาอย่างแท้จริง เช่น ประวัติการเรียนที่ดีในระดับต่างๆ ประสบการณ์ฝึกอบรม ฝึกงาน ดูงานในประเทศและต่างประเทศ (อาจใช้รูปภาพประกอบได้)
    **เขียนเรียงความภาษาอังกฤษโดยย่อ 1-2 หน้า บรรยายประวัติการเรียน การทำงาน และประสพการณ์ต่างๆ ชี้แจงเหตุผลว่า การไปเรียนต่อในสหรัฐอเมริกานั้น จะส่งผลดีต่อการงานและอาชีพในอนาคตอย่างไร หลังจากเรียนจบแล้วเดินทางกลับมาประกอบวิชาชีพในประเทศไทย

    -           วีซ่าทำงานอเมริกา ผู้ต้องการไปทำงานในสหรัฐอเมริกา (Working adults)

    จดหมายรับรองงานจากนายจ้าง เอกสารแสดงประวัติการทำงานเช่น ใบสลิปเงินเดือนย้อนหลังอย่างน้อยสามเดือนขึ้นไป เอกสารแสดงประวัติการเรียน การฝึกอบรม ดูงานในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแสดงว่าเป็นผู้มีความรู้มีทักษะในการไปทำงานในอเมริกา ฯ
    *เจ้าหน้าที่กงสุล ต้องการความมั่นใจว่า ท่านมีความรู้ มีความสามารถ มีประสบการณ์จริง ในการเข้าไปทำงานในอเมริกา   

    -           วีซ่านักธุรกิจและกรรมการบริษัท (Businessmen and company directors)

    หลักฐานแสดงตำแหน่งงานของท่านในบริษัท / องค์กรธุรกิจ รวมถึงเอกสารแสดงรายได้ต่างๆ
    *ให้ยื่นจดหมายเชิญ หรือเอกสารเกี่ยวกับบริษัท หน่วยงาน หรือองค์กรในอเมริกา ที่จะเข้าไปติดต่อ 

    -           วีซ่าเยี่ยมญาติ (Visiting a relative)

    หลักฐานแสดงสถานะของญาติในอเมริกาเช่น บัตรกรีนคาร์ด ประกาศนียบัตรสัญชาติอเมริกัน หรือ วีซ่าอเมริกาประเภทใดที่ถือครองอยู่และยังมีอายุ เป็นต้น
    *ให้ยื่นเอกสารเกี่ยวกับธุรกิจ การงาน หรือรายได้ของญาติในอเมริกา เพื่อเสริมให้เคสแข็งแรงมากขึ้น

    -           ผู้เคยเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกามาก่อน (Previous visitors to the United States)

    หากเคยพำนักในสหรัฐอเมริกา ให้นำเสนอเอกสารหลักฐานใดๆ ที่แสดงสถานะของท่านในอเมริกา หรือวีซ่าอเมริกาประเภทต่างๆที่เคยมีเช่น วีซ่าท่องเที่ยว วีซ่านักเรียน หรือใบอนุญาตทำงาน
    *แม้เคยเดินทางเข้าอเมริกามาก่อน ก็ควรเตรียมเอกสารให้แข็งแรงทั้งด้านการงานการเงิน เตรียมตัวตอบคำถามสัมภาษณ์ให้ดี เพื่อให้เจ้าหน้าที่กงสุลมั่นใจ   

    -           วีซ่าผู้ขอรับบริการทางการแพทย์ (Applicants Seeking Medical Care) 

    หากเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาเพื่อรับบริการทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่กงสุลอาจร้องขอเอกสารเพิ่มเติมดังนี้ (นอกเหนือจากเอกสารข้างต้น)

    • ใบผลวินิจฉัยโรคจากแพทย์ อธิบายลักษณะและภาพรวมของความเจ็บป่วย ชี้แจงเหตุผลว่าทำไมต้องเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกา
    • จดหมายรับรองจากแพทย์หรือหน่วยงานทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกา ยืนยันความประสงค์ที่จะให้บริการรักษาโรคดังกล่าว มีรายละเอียดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น (ค่าดำเนินการของแพทย์ ค่าโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่นๆ)  
    • เอกสารสนับสนุนด้านการเงินจากบุคคลหรือองค์กร ที่รับรองว่าจะดูแลค่าใช้จ่ายการเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายระหว่างที่ท่านพำนักในอเมริกา หากบุคคลธรรมดาเป็นผู้รับรอง ให้แสดงหลักฐานด้านการเงินเช่น จดหมายรับรองธนาคาร หรือเอกสารแสดงรายได้/เงินฝาก หรือเอกสารการเสียภาษี (ตัวจริง) หากหน่วยงานหรือองค์กรเป็นผู้รับรอง ให้ใช้เอกสารลักษณะเดียวกัน
      *ควรยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อยครบถ้วน ระหว่างการสัมภาษณ์ ตอบคำถามให้ชัดเจน เพื่อเจ้าหน้าที่กงสุลมีความมั่นใจ

 
หมายเหตุ : ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเสิร์ชหาใน Google โดยพิมพ์คำว่า "วีซ่าอเมริกา pantip" หรือ "ขอวีซ่าอเมริกา pantip"





ขั้นตอนขอวีซ่าอเมริกาออนไลน์ (โดยละเอียด)
  

Step 1 : ไปที่เว็บไซต์ศูนย์บริการข้อมูลวีซ่าสหรัฐอเมริกาสำหรับประเทศไทย
www.ustraveldocs.com/th เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ วีซ่าชั่วคราว และ วีซ่าถาวรอเมริกา วิธีการยื่นคำร้องขอวีซ่าในประเภทต่างๆ รายละเอียดการขอวีซ่า ชำระค่าธรรมเนียมวีซ่าอเมริกา กรอกแบบฟอร์มวีซ่าอเมริกาออนไลน์ การนัดสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา และอื่นๆ


  • หน้าจอปรากฏคำถาม "เข้าสู่ระบบ หรือทำการขอวีซ่าเป็นครั้งแรก หรือไม่"
  • เลือก "ใช่

 

ยื่นคำร้องขอวีซ่าชั่วคราว

• หน้าจอปรากฏ "ท่านต้องการยื่นคำร้องขอวีซ่าชั่วคราว หรือ วีซ่าถาวร"
• เลือก "วีซ่าชั่วคราว"
• เลือก "วีซ่าชั่วคราวทั่วไป"
• เลือก "วีซ่าธุรกิจ/นักท่องเที่ยว"
• เลือก "เว็บเพจ DS-160"
• เลือก "ขั้นตอนการขอวีซ่าชั่วคราว"


Step 2 : กรอกแบบฟอร์มขอวีซ่าอเมริกาออนไลน์ - Online Nonimmigrant Visa Application (DS-160)

เริ่มต้นกรอกวีซ่าอเมริกา ในแบบฟอร์มออนไลน์ โดยคลิกที่ https://ceac.state.gov/genniv/

  

• เข้ามาที่หน้า "Apply for a Nonimmigrant Visa" มุมขวาบน เลือกภาษาไทย (THAI)
• ในหัวข้อ Get Started เลือกสถานที่ขอวีซ่า (Select a location where you will be applying for this visa)
• เลือก สถานทูตอเมริกาในกรุงเทพ THAILAND, BANGKOK หรือ สถานกงสุลอเมริกาในเชียงใหม่ THAILAND, CHIANG MAI
*สถานกงสุลอเมริกาในเชียงใหม่ ดูแลรับผิดชอบผู้ขอวีซ่าอเมริกาในเขตภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง 15 จังหวัด อันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และพิจิตร
• ใส่รหัสยืนยันตามที่แสดงในหน้าเว็บ (Enter the code as shown)
• เลือก "START AN APPLICATION" เพื่อเริ่มต้นกรอกแบบฟอร์ม
*คลิก "UPLOAD AN APPLICATION" อัพโหลดแบบฟอร์มที่ได้เซฟถาวรไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อกลับมาทำงานต่อภายหลัง (กรณีไม่สะดวกกรอกให้เสร็จใน 30 วัน)
**คลิก "RETRIEVE AN APPLICATION" ดึงแบบฟอร์มกลับมาทำงานต่อ กรณีกรอกข้อมูลไปบางส่วนแล้ว แต่ยังไม่เสร็จ (และยังไม่เกิน 30 วัน)

 

 

• ในหน้า Application Information ระบบจะสร้างหมายเลขประจำตัวแบบฟอร์มขอวีซ่าอเมริกาของท่าน Your Application ID ให้โดยอัตโนมัติ ที่มุมขวาบนจะปรากฏรหัสประจำตัวสิบหลัก
• พิมพ์หน้า Application Information ออกมาเก็บไว้ในที่ปลอดภัย ค้นหาง่าย (กรณีกลับมาทำงานต่อในภายหลัง)
• ในหัวข้อ Security Question ด้านล่าง ให้เลือกคำถามด้านความปลอดภัย ให้ท่านกรอกคำตอบเป็นภาษาอังกฤษ
(เลือกคำถาม-คำตอบที่จำได้ง่ายเช่น "ยายของท่านชืออะไร" What is the given name of your mother's mother?)
(ให้จดบันทึกคำตอบไว้ด้วย)
• เลือก Continue
*กรณีต้องการกลับมาทำงานกรอกข้อมูลต่อในภายหลัง ระบบจะให้ระบุ Your Application ID, นามสกุลห้าพยางค์แรก, ปีที่เกิด, และคำตอบสำหรับ Security Question

 

 

• กรอกข้อมูล Personal Information 1 : นามสกุล / ชื่อ (ภาษาอังกฤษและภาษาไทย) / ระบุชื่อ หรือนามสกุลอื่นที่เคยใช้ หรือนามสกุลก่อนแต่งงาน (maiden name) / ท่านมีรหัส telecode ที่ใช้แสดงชื่อหรือไม่ / เพศของท่าน / สถานะภาพสมรส / วันเดือนปีเกิดและสถานที่เกิด
• กรอกเสร็จคลิก Next

 

• กรอกข้อมูล Personal Information 2: ระบุประเทศบ้านเกิด / มีสถานะเป็นพลเมืองประเทศอื่นอีกหรือไม่ (ถ้ามี ให้ระบุ รวมทั้งถ้ามีพาสปอร์ตให้ระบุหมายเลขด้วย) / เป็นประชากรถาวรประเทศอื่นอีกหรือไม่ (ถ้ามี ให้ระบุ) / มีบัตรประจำตัวประชาชนไทย / หมายเลขประกันสังคม หรือหมายเลขผู้เสียภาษีอากรในสหรัฐอเมริกา หรือไม่ (ถ้ามี ให้ระบุ....หากไม่มีให้เลือก Does Not Apply)
• คลิก Next

 

 

• กรอกข้อมูล Travel Information :
ระบุวัตถุประสงค์ของการเดินทางไปอเมริกา (Purpose of Trip to the US) คลิกใน drop-down list ให้เลือก Temp. Business Pleasure Visitor (B)
เลือกประเภทวีซ่าอเมริกา ให้เลือกวีซ่าธุรกิจและวีซ่าท่องเที่ยว Business & Tourism (Temporary Visitor) (B1/B2)
* กรณีขอวีซ่าชั่วคราวประเภทอื่น ให้ระบุวัตถุประสงค์การเดินทางตามความเป็นจริง วีซ่าอเมริกามีกี่ประเภท ให้คลิกเลือกตามรายการดังต่อไปนี้ : 
Foreign Government Official (A), Alien in Transit (C), Crew Member (D), Treaty Trader or Investor (E), Academic or Language Student (F), International Organization Rep./Emp. (G), Temporary Worker (H), Foreign Media Representative (I), Exchange Visitor (J), Fiance or Spouse of a US Citizen (K), Intra-company Transferee (L), Vocational/Non-academic Student (M), Alien with Extraordinary (O), Internationally Recognized Alient (P), Cultural Exchange Visitor (Q), Religious Worker (R), Etc. 

/ ระบุวันที่จะเดินทางไป (Intended Date of Arrival) และระยะเวลาพำนักในสหรัฐอเมริกา (Intended Length of Stay in U.S.) โดยระบุให้ใกล้เคียงความเป็นจริง / ระบุที่อยู่ที่จะไปพำนักในอเมริกา (หากไม่ทราบ ระบุเป็นชื่อโรงแรมหรือที่พักใกล้เคียง) / ระบุผู้ที่จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (เช่น ตัวท่านเอง บุคคลอื่น นายจ้างปัจจุบัน นายจ้างในอเมริกา บริษัทหรือองค์กรอื่นๆ)
• คลิก Next

  

• กรอกข้อมูล Travel Companions Information: มีคนอื่นเดินทางไปกับท่านหรือไม่ (ถ้ามี ให้ระบุ)
หากระบุว่ามีผู้อื่นเดินทางไปด้วย จะมีคำถามว่า ท่านเดินทางไปกับกลุ่มหรือคณะใดหรือไม่
หากเดินทางเป็นกลุ่ม ให้ระบุชื่อกลุ่มหรือคณะที่ท่านเดินทางไปด้วย
• คลิก Next

 

• กรอกข้อมูล Previous U.S. Travel Information: ท่านเคยเข้าไปอเมริกาหรือไม่ (ถ้าเคย ให้ระบุ)
ถ้าเคยไปอเมริกา ให้ระบุวันเดือนปีที่ไปถึง ระยะเวลาที่พำนักในอเมริกา (หากเคยเข้าไปหลายครั้ง คลิกเพิ่มช่อง Add Another หรือต้องการลบช่องออก คลิก Remove)
/ ท่านเคยได้รับอนุมัติวีซ่าอเมริกาหรือไม่ (ถ้าเคย ให้ระบุ โดยกรอกวันเดือนปี ที่ได้รับอนุมัติวีซ่า รวมทั้งหมายเลขวีซ่า Visa Number)
/ ท่านเคยถูกปฏิเสธวีซ่าอเมริกา ถูกปฏิเสธไม่ให้เดินทางเข้าอเมริกา หรือถอนเรื่องคำขอเดินทางเข้าอเมริกา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือไม่ (ถ้าเคย ให้เลือก Yes และเขียนอธิบายรายละเอียดในกล่อง Explain)
*แม้เคยมีประวัติขอวีซ่าอเมริกาไม่ผ่าน หรือวีซ่าอเมริกาถูกปฏิเสธ ในการยื่นเรื่องครั้งใหม่ หากเตรียมตัวให้ดี ยื่นเอกสารให้เรียบร้อย แสดงให้เห็นว่ามีความแข็งแรงทางเศรษฐกิจการเงิน ธุรกิจการงานมั่นคง มีความผูกพันกับประเทศไทย และจะเดินทางกลับเมื่อเสร็จภาระกิจในอเมริกา การขอวีซ่าอเมริกาครั้งใหม่มีโอกาสผ่าน
**ข้อควรระวัง.....หากเคยถูกปฏิเสธเพราะให้ข้อมูลเท็จหรือปลอมแปลงเอกสาร ท่านอาจถูกขึ้นบัญชีแบล็คลิสต์และถูกปฏิเสธวีซ่าอย่างถาวร ดังนั้นการให้ข้อมูลที่เป็นจริง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
/ ท่านเคยมอบหมายให้ผู้ใดยื่นเรื่องขอโยกย้ายถิ่นฐานถาวร immigrant petition กับหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติสหรัฐอเมริกา (United States Citizenship and Immigration) หรือไม่ (ถ้าท่านเคยมอบหมายให้ผู้ใดยื่นใบสมัครขอวีซ่าถาวรให้กับท่าน ให้อธิบายรายละเอียดว่า ยื่นขอวีซ่าถาวรในประเภทใด วันเดือนปีที่สมัคร หมายเลขใบสมัคร ข้อมูลตัวแทนผู้รับมอบอำนาจเช่นนักกฏหมายในอเมริกา สถานะล่าสุดของใบสมัคร เป็นต้น)
*แม้มีประวัติเคยยื่น หรืออยู่ในระหว่างยื่นขอวีซ่าถาวรอเมริกาหรือกรีนคาร์ดเพื่อโยกย้ายถิ่นฐานถาวรไปอยู่อเมริกา ในการยื่นขอวีซ่าอเมริกาชั่วคราว ท่านควรเตรียมเอกสารให้แข็งแรงเพื่อแสดงให้เห็นว่า ท่านมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฏหมาย มีสถานะทางเศรษฐกิจการเงินที่แข็งแรง มีความผูกพันที่จะยึดเหนี่ยวให้เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจชั่วคราวในอเมริกา
ตัวอย่างเช่น บิดามารดาพำนักอยู่ในประเทศไทยได้ยื่นคำร้องขอ วีซ่าถาวรอเมริกาประเภทนักลงทุน ในระหว่างรอการอนุมัติ ต้องการส่งบุตรไปเรียนต่อในอเมริกา โดยทั่วไปสถานทูตอเมริกาออกวีซ่านักเรียนอเมริกาให้กับบุตรโดยไม่มีปัญหาอะไร เมื่อคำร้องขอวีซ่าถาวรอเมริกาผ่านการอนุมัติ บุตรยื่นขอเปลี่ยนสถานะจากนักเรียนต่างชาติไปเป็นผู้ถือกรีนคาร์ด โดยทำเรื่องระหว่างอยู่ในอเมริกาได้เลย
**กฏหมายอิมมิเกรชั่นอเมริกายอมรับหลักการเรื่อง เจตจำนงคู่ (Dual Intent) นั่นคือ บุคคลสามารถยื่นขอวีซ่าชั่วคราวเพื่อเดินทางเข้าอเมริกาชั่วคราวได้ ในขณะที่ได้ยื่นคำร้องขอวีซ่าถาวรเพื่อพำนักถาวรในอเมริกาไว้ โดยเจ้าหน้าที่ฯพิจารณาคำร้องทั้งสองเรื่องแยกออกจากกัน
• คลิก Next

  

• กรอกข้อมูล Address and Phone Information:
กรอกข้อมูลที่อยู่ให้ครบถ้วน
/ ที่อยู่สำหรับจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เป็นที่เดียวกับที่บ้านหรือไม่ (หากไม่ใช่ที่เดียวกัน ให้ระบุที่อยู่ส่งเอกสารทางไปรษณีย์)
/ ระบุหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อหลัก
ระบุหมายเลขโทรศัพท์รอง หมายเลขโทรศัพท์ที่ทำงาน (หากไม่มี ให้ติ๊ก Does Not Apply)
/ ท่านเคยใช้หมายเลขโทรศัพท์อื่นในช่วงห้าปีที่ผ่านมาหรือไม่ (หากมี ให้ติ๊ก Yes)
/ ระบุอีเมล์แอดเดรสของท่าน
/ ท่านเคยใช้อีเมล์อื่นใดในช่วงห้าปีที่ผ่านมาหรือไม่ (ถ้ามี ให้ระบุ หากมีหลายอีเมล์ คลิกเพิ่มช่องที่ Add Another หรือลบช่องออกที่ Remove)
/ ท่านเคยใช้บัญชีโซเชียลมีเดีย Social Media ใดๆในช่วงห้าปีที่ผ่านมาหรือไม่ (ถ้ามี ต้องเปิดเผยทุกบัญชี)
*ถ้ามี ให้คลิกที่ drop-down list เลือกผู้ให้บริการโซเชียลมีเดีย (เช่น Facebook,Twitter เป็นต้น) กรอกชื่อบัญชีของท่าน Social Media Identifier โดยไม่จำเป็นต้องระบุรหัส password ให้คลิกเพิ่มช่องที่ Add Another หรือลบช่องออกที่ Remove)
**ผู้ขอวีซ่าบางท่าน อาจไม่เคยมีบัญชีโซเชียลมีเดีย ให้ระบุ "None" ได้เลย ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด หากเป็นข้อเท็จจริง
/ ท่านต้องการให้ข้อมูลของท่านที่ปรากฏในเว็บไซต์หรือแอ็พปลิเคชั่นอื่นๆ ที่ท่านเคยสร้างหรือแชร์ข้อมูลในช่วงห้าปีที่ผ่านมาหรือไม่? (เช่นภาพถ่าย วีดีโอ การอัพเดตสถานะในเว็บ ฯลฯ)
(ควรคลิก Yes โดยท่านระบุโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม Social Media Platform และระบุรายละเอียดชื่อบัญชีโซเชียลมีเดีย)
• คลิก Next


  

• กรอกข้อมูล Passport Information: ระบุข้อมูลรายละเอียดในพาสปอร์ต วันที่ออก วันที่หมดอายุ / ท่านเคยทำพาสปอร์ตหายหรือถูกขโมยพาสปอร์ตหรือไม่ (ถ้าเคย ให้ระบุหมายเลขและอธิบายรายละเอียด)
• คลิก Next


 

• หน้าถัดไป U.S. Point of Contact Information: ให้กรอกข้อมูลชื่อนามสกุล ชื่อองค์กร (ถ้ามี) ความสัมพันธ์ (Relationship to You) ที่อยู่ของบุคคลในอเมริกาที่ท่านจะไปติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์แอดเดรส
(ถ้ามี ให้ระบุชื่อบุคคล บริษัท หรือองค์กรที่ท่านจะไปติดต่อ ระบุความสัมพันธ์เป็นเพื่อน ญาติ หรือคู่ค้า หากไปท่องเที่ยวให้ระบุชื่อสถานที่ ดูข้อมูลที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อได้ในเว็บไซต์)
• คลิก Next

 

 

• กรอกข้อมูล Family Information: Relatives - ระบุชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิดของบิดามารดา
(บิดาและมารดา พำนักอยู่ในอเมริกาหรือไม่ หากพำนักในอเมริกา ระบุสถานะว่า เป็นพลเมือง Citizen, ประชากรถาวรหรือผู้ถือกรีนคาร์ด Legal Permanent Resident, ผู้ถือสถานะชั่วคราว Nonimmigrant เช่น คนงานต่างชาติ นักเรียนต่างชาติ ฯ)
/ ท่านมีญาติสนิท immdeiate relatives พำนักในอเมริกาหรือไม่
(ถ้ามี ให้ระบุรายละเอียด การมีญาติสนิทในอเมริกา มีผลดีต่อการขอวีซ่า มากกว่าผลเสีย ควรยื่นเอกสารประกอบให้แข็งแรง)
/ ท่านมีญาติอื่นๆ Any other relatives พำนักในอเมริกาหรือไม่
(ถ้ามี ให้ระบุรายละเอียด การมีญาติในอเมริกา มีผลดีต่อการขอวีซ่า มากกว่าผลเสีย ควรยื่นเอกสารประกอบให้แข็งแรง)
• คลิก Next




• กรอกข้อมูล Family Information: Former Spouse - อดีตสามีหรือภรรยาจำนวนกี่คน ระบุชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด ประเทศบ้านเกิด สถานที่เกิด วันเดือนปีสมรส วันเดือนปีหย่า
อธิบายว่าการสมรสยุติลงอย่างไร หย่ากันที่ประเทศไหน (ถ้ามี ให้ระบุ)
• คลิก Next

 

 

• กรอกข้อมูล Present Work / Education / Training Information - ระบุอาชีพหลัก รายละเอียดชื่อนายจ้าง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ วันที่เริ่มต้นทำงาน รายได้ต่อเดือนเป็นเงินบาทไทย อธิบายหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งงานนั้น (ให้ระบุตามความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม การมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญในตำแหน่งงาน เป็นสิ่งแสดงว่าท่านจะเดินทางกลับประเทศไทย หลังเสร็จสิ้นภาระกิจในอเมริกา)
• คลิก Next

  

• กรอกข้อมูล Previous Work / Education / Training Information - ท่านเคยทำงานที่อื่นหรือไม่ (ถ้ามี ให้ระบุตามความเป็นจริง เน้นประวัติการทำงานที่สำคัญ) / ท่านเรียนจบในระดับสูงกว่ามัธยมปลายหรือไม่ (ถ้ามี ให้ระบุตามความเป็นจริง)
• คลิก Next

 

 

• กรอกข้อมูล Additional Work / Education / Training Information - ท่านเป็นสมาชิกชนเผ่าหรือเผ่าพันธ์ใดหรือไม่ และภาษาที่พูด (กรอกตามข้อเท็จจริง) / ท่านเคยเดินทางไปประเทศอื่นใดหรือไม่ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา (กรอกตามข้อเท็จจริง) / ท่านเป็นสมาชิกองค์กรหรือสนับสนุนหรือทำงานให้กับองค์กรวิชาชีพ สังคม องค์กรการกุศลใดหรือไม่ (ถ้ามีประวัติที่ดี ควรระบุรายละเอียด)
/ ท่านมีทักษะความเชี่ยวชาญพิเศษ หรือการฝึกฝนด้านอาวุธ วัตถุระเบิด นิวเคลียร์ ชีววิทยาหรือด้านเคมีวิทยา หรือไม่ / ท่านเคยรับราชการทหารหรือไม่ / ท่านเคยเป็นสมาชิก หรือเกี่ยวข้องกับกองกำลังติดอาวุธ กองกำลังพลเรือน กลุ่มกบฏ หรือกองโจร หรือองค์กรก่อความไม่สงบใดๆหรือไม่
(ให้ตอบ No ทุกข้อ ยกเว้นหากเคยมีประวัติ ให้ตอบ Yes โดยท่านต้องชี้แจงรายละเอียดให้ครบถ้วนในแบบฟอร์ม รวมทั้งสามารถอธิบายอย่างชัดเจนต่อเจ้าหน้าที่กงสุลตอนสัมภาษณ์วีซ่า)
• คลิก Next

 

  

• กรอกข้อมูล Security and Background: Part 1 - ท่านเป็นโรคติดต่อร้ายแรงใดๆหรือไม่ / ท่านมีอาการเจ็บป่วยทางจิตหรือทางกายที่มีแนวโน้มเป็นภัยต่อสวัสดิภาพของตัวท่านและบุคคลอื่นหรือไม่ / ท่านใช้หรือติดสารเสพติด หรือเคยใช้หรือเคยติดยาเสพติดหรือไม่
(ให้ตอบ No ทุกข้อ ยกเว้นหากเคยมีประวัติ ให้ตอบ Yes โดยท่านต้องชี้แจงรายละเอียดให้ครบถ้วนในแบบฟอร์ม รวมทั้งสามารถอธิบายอย่างชัดเจนต่อเจ้าหน้าที่กงสุลตอนสัมภาษณ์วีซ่า)
• คลิก Next

 

• กรอกข้อมูล Security and Background: Part 2 - เป็นคำถามเกี่ยวกับประวัติการกระทำความผิดกฏหมาย การมีส่วนร่วมข้องเกี่ยวกับการค้าประเวณี การฟอกเงิน การค้ามนุษย์ ของผู้สมัครและหรือญาติใกล้ชิด ฯลฯ
(ให้ตอบ No ทุกข้อ ยกเว้นหากเคยมีประวัติ ให้ตอบ Yes โดยท่านต้องชี้แจงรายละเอียดให้ครบถ้วนในแบบฟอร์ม รวมทั้งสามารถอธิบายอย่างชัดเจนต่อเจ้าหน้าที่กงสุลตอนสัมภาษณ์วีซ่า)
• คลิก Next 

 

• กรอกข้อมูล Security and Background: Part 3 - เป็นคำถามเกี่ยวกับประวัติการกระทำความผิดกฏหมายของผู้สมัครและหรือญาติใกล้ชิด การมีส่วนร่วมข้องเกี่ยวกับการก่อการร้าย การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ การก่อความรุนแรง การปิดกั้นด้านศาสนา การบังคับทำแท้ง การค้าอวัยวะมนุษย์ ฯลฯ
(ให้ตอบ No ทุกข้อ ยกเว้นหากเคยมีประวัติ ให้ตอบ Yes โดยท่านต้องชี้แจงรายละเอียดให้ครบถ้วนในแบบฟอร์ม รวมทั้งสามารถอธิบายอย่างชัดเจนต่อเจ้าหน้าที่กงสุลตอนสัมภาษณ์วีซ่า)
• คลิก Next


  

• กรอกข้อมูล Security and Background: Part 4 - ท่านเคยได้รับวีซ่าอเมริกา หรือช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับวีซ่าอเมริกาหรือได้รับผลประโยชน์อื่นใดด้านที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐาน โดยการปลอมแปลงเอกสารหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงหรือผ่านช่องทางผิดกฏหมายอื่นใด
(ให้ตอบ No ทุกข้อ ยกเว้นหากเคยมีประวัติ ให้ตอบ Yes โดยท่านต้องชี้แจงรายละเอียดให้ครบถ้วนในแบบฟอร์ม รวมทั้งสามารถอธิบายอย่างชัดเจนต่อเจ้าหน้าที่กงสุลตอนสัมภาษณ์วีซ่า)
/ ท่านเคยถูกขับไล่หรือโดนเนรเทศออกจากประเทศใดๆหรือไม่
(ให้ตอบ No ทุกข้อ ยกเว้นหากเคยมีประวัติ ให้ตอบ Yes โดยท่านต้องชี้แจงรายละเอียดให้ครบถ้วนในแบบฟอร์ม รวมทั้งสามารถอธิบายอย่างชัดเจนต่อเจ้าหน้าที่กงสุลตอนสัมภาษณ์วีซ่า)
• คลิก Next

 

 

• กรอกข้อมูล Security and Background: Part 5 - ท่านเคยกีดกันเยาวชนอเมริกัน ออกไปเสียจากบุคคลที่ได้รับสถานะผู้ปกครอง โดยคำสั่งของศาลในสหรัฐอเมริกา
(ให้ตอบ No ยกเว้นหากเคยมีประวัติ ให้ตอบ Yes โดยท่านต้องชี้แจงรายละเอียดให้ครบถ้วนในแบบฟอร์ม รวมทั้งสามารถอธิบายอย่างชัดเจนต่อเจ้าหน้าที่กงสุลตอนสัมภาษณ์วีซ่า)
/ ท่านเคยลงคะแนนหรือโหวตเสียงอย่างไม่ถูกต้องและขัดต่อกฏหมายในสหรัฐอเมริกาหรือไม่
(ให้ตอบ No ยกเว้นหากเคยมีประวัติ ให้ตอบ Yes โดยท่านต้องชี้แจงรายละเอียดให้ครบถ้วนในแบบฟอร์ม รวมทั้งสามารถอธิบายอย่างชัดเจนต่อเจ้าหน้าที่กงสุลตอนสัมภาษณ์วีซ่า)
/ ท่านเคยสละสัญชาติอเมริกัน ด้วยวัตถุประสงค์ต้องการหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีอากรหรือไม่
(ให้ตอบ No ทุกข้อ ยกเว้นหากเคยมีประวัติ ให้ตอบ Yes โดยท่านต้องชี้แจงรายละเอียดให้ครบถ้วนในแบบฟอร์ม รวมทั้งสามารถอธิบายอย่างชัดเจนต่อเจ้าหน้าที่กงสุลตอนสัมภาษณ์วีซ่า)
• คลิก Save

  

• ปรากฏหน้า Save Confirmation ยืนยันว่าแบบฟอร์มขอวีซ่าอเมริกาได้ถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูล
*ใน 30 วันถัดไป ท่านสามารถดึงข้อมูลในแบบฟอร์มกลับมาทำงานต่อให้เสร็จ (retrive your application) โดยกรอก Application ID และตอบคำถามด้านความปลอดภัย Security questions ให้ถูกต้อง
• คลิก Continue Application

หมายเหตุ:
คลิก Save Application to File หากยังไม่สะดวกในการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มขอวีซ่าอเมริกาให้เสร็จใน 30 วันถัดไป ท่านสามารถเลือกบันทึกข้อมูลเก็บไว้อย่างถาวร (permanently save) ในไฟล์ในคอมพิวเตอร์ของท่าน 
คลิก Exit Application หากต้องการออกจากระบบ


 

 


• อัพโหลดภาพถ่ายลงในเว็บ
• คลิก Next

หมายเหตุ: เงื่อนไขใหม่ รูปถ่ายวีซ่าอเมริกา มีดังนี้
ต้องไม่สวมแว่นตา / ขนาด 2 นิ้ว x 2 นิ้ว / เป็นภาพถ่ายสี มีพื้นหลังขาว ไม่มีเงาบดบัง / เห็นหน้าชัดเจน ไม่สวมหมวกหรือผ้าคลุม / รูปถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน

 

 

• ปรากฏหน้า Photo Quality Standards Result (ยืนยันว่ารูปถ่ายมีคุณภาพใช้ได้)
• คลิก Next

 

 

• ยืนยันใช้รูปภาพ Confirm Photo
• คลิก REVIEW


 

• ปรากฏหน้ายืนยันว่า ท่านได้กรอกข้อมูลในแบบคำร้องขอวีซ่าชั่วคราว (NIV application) เสร็จเรียบร้อย
• ก่อนยื่นแบบคำร้อง ให้ตรวจสอบข้อมูลทุกหน้า Personal, Address, Phone, and Passport Information ว่าถูกต้องหรือไม่ (หากต้องการแก้ไข ให้คลิก Edit)
• หากข้อมูลถูกต้อง ให้คลิก Next

 

 

• หน้า Location Information (ยืนยันสถานที่ยื่นขอวีซ่า)
• คลิก Sign and Submit

 

• ปรากฏหน้า Sign and Submit
• E-Signature เซ็นชื่อรับรองทางอิเล็คโทรนิคส์เพื่อยืนยันว่า ข้อมูลที่กรอกมาทั้งหมดเป็นข้อเท็จจริงและถูกต้องโดยระบุหมายเลขพาสปอร์ต และระบุรหัส (code) ที่เห็นในกล่องขวามือ
• ยื่นแบบคำร้องขอวีซ่า โดยคลิก Sign and Submit Application


 

• การกรอกแบบฟอร์มเสร็จสมบูรณ์ โดยระบบเข้ามาที่หน้า DS-160 confirmation page มีแถบบาร์โค้ด (มุมขวาบน) มีตัวอักษรและตัวเลข
Print Confirmation พิมพ์เฉพาะหน้านี้ออกมา และนำติดตัวไปในวันสัมภาษณ์ที่สถานทูตหรือสถานกงสุล
* Print Application หากต้องการพิมพ์แบบคำร้องทุกหน้าออกมาเก็บไว้
** Email Confirmation ส่งหน้านี้ไปที่อีเมล์ของท่าน

 

ข้อสังเกตุ:

แบบฟอร์มขอวีซ่าอเมริกาออนไลน์ (DS-160) กรอกให้เสร็จและยื่นทางออนไลน์เท่านั้น (สถานทูตหรือสถานกงสุลอเมริกัน ไม่รับใบสมัครที่พิมพ์หรือเขียนด้วยลายมือ)
ผู้สมัครรวมถึงผู้ติดตามทุกคน ต้องกรอกใบสมัคร DS-160 แยกเป็นของตนเอง
การยื่นขอวีซ่าอเมริกาทุกครั้ง ต้องกรอกแบบฟอร์ม DS-160 ชุดใหม่ (เอกสาร DS-160 ชุดเก่า นำมายื่นขอวีซ่าครั้งใหม่ไม่ได้)
หมายเลขบาร์โค้ดในเอกสาร DS-160 confirmation page มีความสำคัญ ใช้จองวันนัดสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกาออนไลน์
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 December 2018 ในวันสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา หมายเลขบาร์โค้ดใน DS-160 confirmation page ที่นำติดตัวไป ต้องตรงกับหมายเลขที่ใช้จองวันสัมภาษณ์ หากหมายเลขบาร์โค้ดไม่ตรงกัน การสัมภาษณ์จะถูกยกเลิก
ในกรณีหมายเลขบาร์โค้ดไม่ตรงกัน ให้ท่านแก้ไขอย่างน้อย 3 วันทำการก่อนวันนัดสัมภาษณ์จริง
สถานทูตหรือสถานกงสุลอเมริกาที่เลือกไว้ในแบบฟอร์ม DS-160 ต้องตรงกับสถานที่เข้ารับการสัมภาษณ์จริง
• ระหว่างกรอกแบบฟอร์มวีซ่าอเมริกาออนไลน์ ให้อัพโหลดรูปถ่ายวีซ่าอเมริกาถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือนลงไป แนะนำว่า ให้สแกนจากรูปถ่ายจริง หรือขอไฟล์ดิจิตอลจากร้านถ่ายรูป ขนาดและสเปครูปถ่าย ดูรายละเอียดในเว็บ https://travel.state.gov/content/travel/en/us-visas/visa-information-resources/photos.html
• ระหว่างกรอกแบบฟอร์มวีซ่าอเมริกาออนไลน์ หากหยุดดำเนินการนานเกิน 20 นาที หน้าเว็บจะหมดอายุ ท่านต้องเริ่มต้นกระบวนการใหม่ (ข้อมูลใน application ที่กรอกเรียบร้อยแล้ว ควรจัดเก็บเป็นไฟล์ Save ลงในคอมพิวเตอร์)
• ในระหว่างกรอกแบบฟอร์มวีซ่าอเมริกาออนไลน์ ปิดพักหน้าจอ browser ไปก่อนได้ หากต้องการกลับมาทำงานต่อให้เสร็จในภายหลัง หรือในกรณีระบบมีปัญหา เพียงกรอกหมายเลข Application no., กรอกนามสกุลของท่านพยัญชนะ 5 ตัวแรก, กรอกปีที่เกิด, และกรอกคำตอบสำหรับคำถามความปลอดภัยที่เลือกไว้ ก็เข้ามาทำงานต่อในระบบได้
• เมื่อกรอกข้อมูลทุกอย่างเรียบร้อย กดส่งเอกสารทางออนไลน์ได้เลย Sign and submit

 

Step 3 : สร้างโปรไฟล์ส่วนตัวขอวีซ่าอเมริกา

ขั้นตอนต่อไป สร้างโปรไฟล์ส่วนตัวเพื่อ ยื่นคำร้องขอวีซ่าอเมริกา จองนัดสัมภาษณ์วีซ่า ระบุรายละเอียดที่อยู่สำหรับส่งคืนพาสปอร์ต และชำระค่าธรรมเนียมขอวีซ่า ที่เว็บไซต์ ศูนย์บริการข้อมูลวีซ่าสหรัฐอเมริกาสำหรับประเทศไทย www.ustraveldocs.com/th

  

• หน้าจอปรากฏคำถาม "เข้าสู่ระบบ หรือ ทำการขอวีซ่าเป็นครั้งแรก หรือไม่"
• เลือก "ไม่ใช่" (เพราะไม่ใช่เป็นการเข้าสู่ระบบครั้งแรก)


หากยังไม่ได้ลงทะเบียนกับระบบมาก่อน
ให้สร้างโปรไฟล์ของผู้ใช้ใหม่ 

• คลิก "สร้างโปรไฟล์" เพื่อลงทะเบียนกับระบบ

 

• หน้าจอปรากฏ "สร้างโปรไฟล์ของผู้ใช้ใหม่ - Thailand"
• ให้กรอกชื่ออีเมล์ (สถานทูตอเมริกาจะส่งจดหมายมาที่อีเมล์นี้)
• กรอกชื่อ / นามสกุล
• กรอกรหัสผ่าน / ยืนยันรหัสผ่าน
• พิมพ์ตัวที่ท่านเห็นในกล่องความปลอดภัย
• กด Submit


 

• คลิก การสมัครขอวีซ่าใหม่ / นัดสัมภาษณ์วีซ่า

 

 

• เลือก "วีซ่าชั่วคราว"
• คลิก "ดำเนินการต่อ"


 

• เลือกสถานที่ที่คุณต้องการยื่นคำร้องขอวีซ่า
• เลือก "กรุงเทพฯ" (หรือ "เชียงใหม่" แล้วแต่กรณี) 

 

 

• เลือกประเภทวีซ่า
• เลือก "อื่นๆ"

 

 

• เลือกประเภทวีซ่า
• เลือก "วีซ่าธุรกิจ - Visitor for Business" (หรือ "วีซ่าท่องเที่ยว - Visitor for Business and Pleasure" แล้วแต่กรณี)
• คลิก "ข้าพเจ้ายอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ"


 

• กรณีสมัครวีซ่าใหม่ กรอกข้อมูลสว่นตัวให้ครบถ้วน (เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น)


  

• คลิก "เพิ่มผู้สมัครที่เป็นบุตร" (หรือคลิก "ดำเนินการต่อ" กรณีไม่เพิ่มผู้สมัครที่เป็นบุตร)

 

 

• ท่านถือสัญชาติไทย และขณะนี้อาศัยอยู่ในประเทศไทย ใช่หรือไม่
• คลิก "ใช่"

 

 

• ท่านเป็นข้าราชการหรือตัวแทนรัฐบาลไทยที่จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ทางราชการหรือไม่
• เลือก "ใช่" (หรือ "ไม่" แล้วแต่กรณี)

 

 

• ท่านเป็นผู้สมัครที่มีคุณสมบัติด้านล่างนี้ ข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ - เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี หรือผู้สมัครที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป
• คลิก "ไม่" (หรือ "ใช่" แล้วแต่กรณี)
  *กรณีเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี หรือผู้สมัครที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป อาจไม่ต้องเข้ารับการสัมภาษณ์

 

• ท่านมีความประสงค์จะต่ออายุวีซ่าสหรัฐฯที่ยังไม่หมดอายุ หรือหมดอายุแล้วไม่เกิน 12 เดือน ใช่หรือไม่ (การต่ออายุวีซ่าจะทำได้ก็ต่อเมื่อท่านยื่นขอวีซ่าชนิดเดียวกับวีซ่าที่เคยได้รับเท่านั้น หากท่านไม่แน่ใจว่าวีซ่าที่ท่านเคยได้รับนั้นเป็นประเภทใด กรุณา คลิกที่นี่ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับประเภทวีซ่าของสหรัฐฯ)
• คลิก "ใช่" (หรือ "ไม่" แล้วแต่กรณี)


 

• ระบุรายละเอียดการจัดส่งเอกสาร เลือก "การส่งเอกสารที่บ้าน" ให้กรอกข้อมูลที่อยู่จัดส่งให้ครบถ้วนที่สุด (หรือเลือก"รับ" เพื่อไปรับหนังสือเดินทาง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ที่เป็นจุดรับยื่นเอกสาร)
• คลิก "ดำเนินการต่อ" (เพื่อเข้าสู่หน้าชำระค่าธรรมเนียมขอวีซ่า)

  


Step 4 : ชำระค่าธรรมเนียมขอวีซ่าอเมริกา

 

 

• ปรากฏหน้าต่าง "ค่าธรรมเนียมวีซ่าไม่สามารถเรียกคืนได้"
• คลิก "ยืนยัน"


 

• ปรากฏหน้าต่าง "วิธีการชำระค่าธรรมเนียม" มีสองวิธีคือ ชำระด้วยเงินสด Cash Payment หรือ ชำระโดยการโอนเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Funds Transfer (EFT)
• เลือก ชำระด้วยเงินสด Cash Payment (แนะนำ)

 

 

• ปรากฏหน้าเอกสาร Electronic Funds Transfer (EFT) & Cash Depoist Instructions คำแนะนำการโอนเงินด้วยระบบอิเลคโทรนิคส์ (EFT) และการชำระค่าธรรมเนียมวีซ่าด้วยเงินสดที่ธนาคาร ที่ระบุรายละเอียด ค่าธรรมเนียมขอวีซ่าเป็นเงินบาท, วันหมดอายุ, เลขที่ใบเสร็จรับเงินสำหรับทำการนัดหมายสัมภาษณ์วีซ่า, เลขที่อ้างอิง Virtual Account ID หรือเลขที่อ้างอิง EFT (EFT Account Number), เลขที่อ้างอิง CGI Reference No.
• พิมพ์ใบคำแนะนำการชำระค่าธรรมเนียมวีซ่า และพิมพ์ แบบฟอร์มการชำระเงิน (Pay-in Slip) ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ออกมากรอกข้อมูลให้เรียบร้อย เพื่อนำเอกสารทั้งสองใรายการไปชำระค่าธรรมเนียมที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ทุกสาขาทั่วประเทศ
อย่าลืมเก็บ แบบฟอร์มการชำระเงินส่วนของลูกค้า ที่มีตราประทับของธนาคารไว้เป็นหลักฐานในวันสัมภาษณ์
*ชำระเงินก่อนวันหมดอายุระบุในใบคำแนะนำการชำระค่าธรรมเนียมวีซ่า
**เมื่อชำระเงินรียบร้อยแล้ว จะได้รับอีเมล์ยืนยันว่า ท่านสามารถทำการจองวันนัดสัมภาษณ์ได้ในวันถัดไป

หมายเหตุ: ท่านสามารถเลือกชำระ ค่าธรรมเนียมวีซ่าอเมริกา ได้ทั้งสอง (2) วิธีคือ ไปชำระเป็นเงินสดที่ธนาคาร หรือโอนเงินด้วยระบบอิเล็กโทรนิคส์ (EFT) โดยตรงจากบัญชีธนาคารของท่าน ดูรายละเอียดวิธีการชำระเงิน

 


Step 5 : จองวันสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา

หลังชำระเงินเรียบร้อย ท่านสามารถจองวัน นัดสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา ทางออนไลน์ หรือทางเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์ โดยใช้เลขที่อ้างอิง Virtual Account ID เพื่อทำการนัดหมายสัมภาษณ์

หากชำระเป็นเงินสด (Cash Payment) เรียบร้อยแล้ว สามารถทำเรื่องจองวันสัมภาษณ์ได้ในวันทำการถัดไปหนึ่งวันหลังเวลา 12:00 น. โดยท่านสามารถยืนยันชำระค่าธรรมเนียม โดยระบบจะแสดงเลขที่ใบเสร็จรับเงินโดยอัตโนมัติ ท่านสามารถเลือกนัดหมายวันและเวลาสัมภาษณ์ตามต้องการ

*หากชำระทาง Electronic Funds Transfer (EFT) สามารถทำเรื่องจองวันสัมภาษณ์ได้ในวันทำการถัดไปสองวัน หลังเวลา 14:00 น.

 

 

• Login เข้าสู่ระบบ
• คลิก "การสมัครขอวีซ่าใหม่ / นัดสัมภาษณ์วีซ่า"
ระบุหมายเลข Virtual Account ID หรือหมายเลขใบเสร็จรับเงิน เพื่อทำการนัดหมายวันสัมภาษณ์วีซ่า
• คลิก "ดำเนินการต่อ"
ระหว่างจองวันสัมภาษณ์ เตรียมหมายเลขพาสปอร์ต ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม และหมายเลขบาร์โค้ดสิบหลัก ดูจากหน้า DS-160 confirmation page

 

วีซ่าอเมริกา รอคิวนัดสัมภาษณ์กี่วัน?

ตรวจสอบระยะเวลารอคิวสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา ที่ เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
*ไปที่ Visa Appointment Wait Times / Select a U.S. Embassy or Consulate / พิมพ์ Bangkok หรือ Chiang Mai / คลิก GO

สถานทูตอเมริกาในกรุงเทพ - วีซ่าท่องเที่ยว (B1/B2) 70 วัน / วีซ่านักเรียนอเมริกาหรือวีซ่าโครงการแลกเปลี่ยน (Student / Exchange Visitor Visas) 8 วัน / วีซ่าทรานสิท 7 วัน / วีซ่าชั่วคราวอื่นๆ 4 วัน (As of Sep 2024)
*วัน = Calendar days

สถานกงสุลอเมริกาในเชียงใหม่ - วีซ่าท่องเที่ยว 22 วัน / วีซ่านักเรียนอเมริกาหรือวีซ่าโครงการแลกเปลี่ยน 4 วัน / วีซ่าทรานสิท 7 วัน (As of Sep 2024)

 

Step 6 : เดินทางมาสถานทูตหรือสถานกงสุลอเมริกาเพื่อเข้ารับการสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา

ในวันสัมภาษณ์ โปรดนำเอกสาร DS-160 confirmation page จดหมายนัดสัมภาษณ์ พาสปอร์ต (ใหม่และเก่าทุกเล่ม) รูปถ่ายสีหนึ่งรูปขนาด 2 x 2 นิ้วพื้นขาว (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน) ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมตัวจริง รวมถึงเอกสารประกอบอื่นๆ ที่ต้องการนำเสนอ

- หากลืมนำเอกสาร DS-160 confirmation page ติดตัวไปด้วย สถานทูตหรือสถานกงสุลอเมริกาไม่อนุญาติให้เข้ารับการสัมภาษณ์

- หากนำเอกสารไปไม่ครบถ้วนตามที่แจ้ง วีซ่าอเมริกาอาจไม่ผ่านการอนุมัติ

 

Step 7 : การส่งคืนพาสปอร์ต

หากได้รับอนุมัติ วีซ่าอเมริกาจะยังไม่ได้รับในวันสัมภาษณ์โดยทันที เมื่อวีซ่าอเมริกาอนุมัติ จะถูกนำไปติดผนึกลงไปในพาสปอร์ต พาสปอร์ตพร้อมวีซ่าอเมริกาจะถูกส่งคืนไปให้ท่านทางบริษัทไปรษณีย์ไทย Thailand Post เมื่อได้รับพาสปอร์ตคืนแล้ว โปรดตรวจสอบดูว่า ข้อมูลที่ปรากฏในหน้าวีซ่า ตรงกับข้อมูลในพาสปอร์ตหรือไม่

โดยปรกติ สถานทูตหรือสถานกงสุลอเมริกาอนุมัติวีซ่าอเมริกา 10 ปีให้กับผู้ขอวีซ่าอเมริกาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมครบถ้วน อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งสถานทูตหรือสถานกงสุลฯอาจใช้ดุลยพินิจอนุมัติวีซ่าอเมริกามีอายุเพียง 5 ปีหรือน้อยกว่านั้นก็เป็นไปได้ นอกเหนือจากนี้ ผู้ขอวีซ่าอเมริกาบางท่านอาจได้รับอนุมัติวีซ่าอเมริกาที่มีอายุสั้นเพียง 1-3 เดือน ครอบคลุมเฉพาะช่วงระยะเวลาที่ต้องการเดินทางเข้าไปประกอบภาระกิจในอเมริกาเท่านั้น
*ข้อสังเกตุ: ผู้ที่ได้รับอนุมัติวีซ่าอเมริกาที่มีอายุเพียงไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปี หากเมื่อเดินทางเข้าไปอเมริกาแล้วปฏิบัติตามกฏหมาย และไม่อยู่เกินกำหนดที่ได้รับอนุญาต เมื่อไปขอวีซ่าครั้งต่อไป มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับอนุมัติ "วีซ่าอเมริกา 10 ปี"

คำแนะนำ: การขอวีซ่าอเมริกา ผู้ขอควรยื่นใบสมัครล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ เมื่อได้ยื่นเรื่องแล้ว โปรดหลีกเลี่ยงการติดต่อแผนกกงสุลของสถานทูตอเมริกาโดยไม่จำเป็นเพื่อติดตามสถานะการสมัคร หากยังไม่เกินระยะเวลาดำเนินการที่ระบุในเว็บไซต์ นอกจากนี้ สถานทูตยังแนะนำอีกว่า หากท่านยังไม่ได้รับวีซ่าอเมริกาอยู่ในมือ ไม่ควรซื้อตั๋วเครื่องบิน หรือวางแผนการเดินทางใดที่เปลี่ยนแปลงหรือคืนเงินไม่ได้ ผู้ขอวีซ่าไม่ควรคาดเดาเอาเองว่า เคสจะได้รับอนุมัติอย่างแน่นอน เพราะเจ้าหน้าที่กงสุลเท่านั้นที่จะเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว

 

 

กระบวนการสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกาที่สถานทูต
 


*วีดีโอแสดงขั้นตอนสัมภาษณ์วีซ่าท่องเที่ยว (US Visa Interview Process) 
โดย สถานทูตอเมริกาในประเทศไทย

 

1. ดินทางมาสถานทูตอเมริกา

• เวลาระบุในจดหมายนัดสัมภาษณ์ คือเวลาที่ต้องเดินทางมาถึงประตูทางเข้าสถานทูต แต่ไม่ใช่เวลานัดสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่วีซ่า

• ควรมารอที่ประตูสถานทูตฯ ก่อนเวลานัดเพียงประมาณ 15 นาที

2. ถูกตรวจสอบโดยหน่วยรักษาความปลอดภัยของสถานทูต

• ผู้ขอวีซ่าทุกคนต้องผ่านการตรวจโดยหน่วยรักษาความปลอดภัย สัมภาระที่นำติดตัวมาจะถูกตรวจโดยเครื่องเอ็กซเรย์และอุปกรณ์ตรวจจับโลหะ ดังนั้น ในวันสัมภาษณ์ควรนำติดตัวมาเฉพาะสิ่งของที่จำเป็นในการสัมภาษณ์เท่านั้น

• ท่านได้รับอนุญาตให้นำโทรศัพท์มือถือติดตัวไปเข้ารับการตรวจเพียงหนึ่งเครื่องเท่านั้น หน่วยรักษาความปลอดภัยและสถานทูต ไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือความเสียหายใดที่อาจเกิดขึ้นกับโทรศัพท์มือถือของท่าน

3. ส่งมอบพาสปอร์ตที่ช่องรับเอกสาร

• ส่งมอบพาสปอร์ต ให้เจ้าหน้าที่ประจำช่องรับเอกสาร ทีมเจ้าหน้าที่จะตรวจดูจดหมายนัดสัมภาษณ์ แล้วจึงส่งคืนพาสปอร์ตให้กับท่าน รวมทั้งใบสลิปหมายเลขส่งพัสดุจากไปรษณีย์ไทยสำหรับการจัดส่งพาสปอร์ตคืน

• อย่าลืมจดบันทึกหมายเลข EMS tracking number เพื่อติดตามการส่งคืนพาสปอร์ต!

4. ยื่นเอกสารที่ช่องหมายเลข 15

• หลังได้รับใบสลิปหมายเลขส่งพัสดุไปรษณีย์ไทยแล้ว ให้เดินตรงไปที่ช่องหมายเลข 15 (ช่องรับเอกสารเข้า) ที่ตั้งอยู่บริเวณห้องโถงนั่งรอของแผนกวีซ่า เพื่อยื่นพาสปอร์ตและเอกสารอื่นๆ

• วางทาบนิ้วมือซ้ายทั้งสี่ลงในช่องสแกนสี่เหลี่ยมสีเขียว จากนั้นวางทาบนิ้วมือขวาลงในช่องสแกนสี่เหลี่ยมสีเขียว เมื่อเสร็จแล้ว ให้วางทาบนิ้วหัวแม่โป้งทั้งสองมือพร้อมกันลงในช่องสแกนสี่เหลี่ยมสีเขียว

5. ตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ

• เดินต่อไปที่ช่องหมายเลข 10 เพื่อจัดเก็บข้อมูลลายพิมพ์นิ้วมือ (ไบโอเมตริคส์)

6. เข้ารับการสัมภาษณ์

• เมื่อจัดเก็บข้อมูลลายนิ้วมือเสร็จแล้ว โปรดอยู่ในแถว เพื่อรอรับการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่กงสุล

• กรณีขอนัดสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม ผู้ขอวีซ่าทั้งหมดจะได้เข้าสัมภาษณ์พร้อมกัน

• การสัมภาษณ์โดยส่วนใหญ่เป็นภาษาไทย เจ้าหน้าที่กงสุลอเมริกันสามารถสื่อสารภาษาไทยได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามท่านสามารถเลือกขอรับการสัมภาษณ์เป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้ รวมทั้งท่านอาจตอบคำถามเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แล้วแต่ความสมัครใจและความเหมาะสม ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด

*** โปรดระวัง - การสัมภาษณ์มีความสำคัญที่สุด ท่านต้องเตรียมตัวตอบคำถามให้เจ้าหน้าที่วีซ่า (Visa Officer) เข้าใจ เชื่อถือ และมั่นใจในตัวท่าน ควรมองตาเจ้าหน้าที่ (Eyes contact) ในระหว่างสัมภาษณ์ที่กินเวลาสั้นๆเพียงไม่กี่นาที โดยเฉลี่ยคือ 3-5 นาทีสำหรับผู้สมัครหนึ่งท่าน (เนื่องจากมีผู้ขอยื่นวีซ่ารอคิวอยู่เป็นจำนวนมากในแต่ละวัน) เจ้าหน้าที่จึงให้ความสำคัญต่อคำตอบระหว่างการสัมภาษณ์ มากกว่าเอกสารที่ผู้สมัครได้จัดเตรียมมา !!!  

• ในระหว่างสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่กงสุลอาจตรวจดูเอกสารประกอบต่างๆ หรืออาจไม่เปิดดูเอกสารใดๆเลยก็เป็นไปได้ แล้วแต่ดุลยพินิจ

• ระหว่างการสัมภาษณ์ ท่านควรตอบคำถามด้วยข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง หากเป็นคำถามสั้น ก็ตอบด้วยคำตอบที่กระชับชัดเจนไม่เยิ่นเย้อ หากเป็นคำถามยาว ก็อธิบายอย่างชัดเจนตรงประเด็นให้เจ้าหน้าที่เข้าใจ หลีกเลี่ยงการพูดโต้ตอบในเรื่องที่ไม่ตรงประเด็นหรือนอกเหนือจากคำถาม

• ตอบคำถามให้เจ้าหน้าที่กงสุลมั่นใจ ในภาพรวมที่แข็งแรงด้านเศรษฐกิจและสังคมของตนเองและ/หรือของครอบครัว เพื่อเป็นการยืนยันว่า ท่านจะเดินทางกลับออกไป เมื่อเสร็จสิ้นการเดินทางเข้าไปพำนักในอเมริกา

• โปรดเข้าใจว่า เจ้าหน้าที่กงสุลมีระยะเวลาค่อนข้างจำกัดในการพิจารณาเคสของท่าน การตัดสินใจอนุมัติหรือปฏิเสธต้องกระทำอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ท่านควรจัดเตรียมเอกสารในการสัมภาษณ์ให้ครบถ้วนเรียบร้อย พร้อมแสดงให้เจ้าหน้าที่กงสุลได้เข้าใจภาพรวมทั้งหมด

• หลังการสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่กงสุลอาจพิจารณาว่า เคสของท่านจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบเพิ่มเติมหรือไม่ (ตัวอย่างเช่น ผู้สมัครบางท่านเคยมีประวัติอาชญากรรมในอดีต อาจถูกร้องขอเอกสารยืนยันจากศาล เป็นต้น) โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ท่านทราบ

• หากเจ้าหน้าที่กงสุลอนุมัติวีซ่าให้กับท่าน เจ้าหน้าที่จะเก็บพาสปอร์ตไว้ โดยจัดส่งพาสปอร์ตพร้อมติดผนึกวีซ่าอเมริกาคืนให้ท่านภายใน 3-7 วันทำการ หากเคสถูกปฏิเสธ เจ้าหน้าที่จะคืนพาสปอร์ตพร้อมคำชี้แจงเหตุผลการปฏิเสธวีซ่าของท่าน



คำถาม-คำตอบสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา 

เจ้าหน้าที่กงสุลอเมริกา อาจสัมภาษณ์ด้วยคำถามหลากหลายเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ครอบครัว การศึกษา อาชีพ และแผนการชีวิตในอนาคตของท่าน บางคนอาจทักทายด้วยการพูดคุยเรื่องทั่วไปก่อน หรือบางท่านอาจเริ่มต้นสัมภาษณ์ทันที แล้วแต่สไตล์ของแต่ละคน
 

เมื่อเริ่มสัมภาษณ์ หากเจ้าหน้าที่ร้องขอดูเอกสารประกอบ ให้ท่านยื่นแสดงหลักฐานให้ดูทันที ควรจัดเตรียมเอกสารใส่แฟ้มเป็นหมวดหมู่หาง่าย เมื่อถูกถาม ให้ตอบตรงประเด็นไม่เยิ่นเย้อ คำตอบอาจยาวหรือสั้น แล้วแต่ความเหมาะสม ตัวอย่างคำถาม-คำตอบพื้นฐานทั่วไปในการสัมภาษณ์ อาจมีดังนี้เช่น:

♦ คำถามวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่าธุรกิจอเมริกา (B-1/B-2 Visa)

Q: What is your purpose of visiting the United States? วัตถุประสงค์ของการไปสหรัฐอเมริกา
A: เตรียมข้อมูลให้พร้อม ตอบตามความเป็นจริงเช่น ไปท่องเที่ยว ไปเยี่ยมญาติ ไปติดต่อธุรกิจ ประชุมสัมนา ไปพบแพทย์ ฯ (หากถูกร้องขอดูหลักฐาน ให้ยื่นแผนการท่องเที่ยว เอกสารการจ้างงานของญาติ จดหมายเชิญจากบริษัทในอเมริกา เอกสารจากแพทย์ในอเมริกา เป็นต้น)
   

Q: Have you been to USA before? เคยไปสหรัฐอเมริกามาก่อนหรือไม่
A: ตอบตามความเป็นจริง (หากเคยไปอเมริกา เตรียมตอบคำถามว่า ครั้งก่อนไปที่ไหน ไปทำอะไรในอเมริกา)
 

Q: What do you do in Thailand? ทำงานอะไรในประเทศไทย
A: เตรียมข้อมูลให้พร้อม ตอบตามความเป็นจริง อธิบายเรื่องงานหรือธุรกิจที่ทำ ชี้แจงหน้าที่สำคัญ ภาระกิจสำคัญที่ท่านดูแลรับผิดชอบ ที่มาของรายได้ (หากถูกร้องขอหลักฐาน ให้ยื่นเอกสารการงานหรือธุรกิจ นามบัตร โบรชัวร์ สื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ เอกสารด้านการเงิน รายได้ต่อปี ฯลฯ)
*หากบัญชีธนาคารมียอดเงินไม่มาก หรือหลักฐานด้านการงานไม่แข็งแรง ต้องเตรียมตัวให้ดี พร้อมตอบคำถามให้เจ้าหน้าที่มีความมั่นใจว่า ท่านมีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายเดินทางไปอเมริกาครั้งนี้ รวมทั้งมีสิ่งยึดเหนี่ยวสำคัญที่จะดึงรั้งให้ท่านเดินทางกลับประเทศไทย เมื่อเสร็จภาระกิจในอเมริกา
 

Q: Do you have relatives or friends currently living in the US? มีญาติหรือเพื่อนปัจจุบันพำนักอยู่ในอเมริกาหรือไม่ What do they do in the US? ทำอะไรอยู่ในอเมริกา
A: เตรียมข้อมูลให้พร้อม ตอบตามความเป็นจริง (หากถูกร้องขอหลักฐาน ให้ยื่นเอกสารการจ้างงาน หรือเอกสารด้านการเงินของญาติ ให้เจ้าหน้าที่ดู)
 

Q: How much do you expect for this trip? ค่าใช้จ่ายเดินทางไปอเมริกาครั้งนี้คาดว่าเท่าไหร่ Who will be responsible for the expenses? ใครเป็นผู้รับผิดชอบ
A: ตอบตามความเป็นจริงเช่น ข้าพเจ้ารับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด หรือบิดามารดาสนับสนุน หรือสามี/ภรรยาสนับสนุน (หากถูกร้องขอ ให้ยื่นแสดงหลักฐานด้านการเงิน บัญชีธนาคาร หุ้น พันธบัตร หน่วยลงทุน แสดงรูปภาพทรัพย์สิน บ้าน อาคาร รถยนต์ ฯ เป็นต้น)
 

Q: Where will you stay in the US? ที่พักระหว่างอยู่ในอเมริกา
A: เตรียมข้อมูลให้พร้อม ตอบตามความเป็นจริงเช่น พักบ้านญาติ พักโรงแรม (ข้อมูลที่อยู่ เบอร์โทร ฯ ข้อมูลต้องตรงกับที่กรอกในใบสมัคร)
 

Q: Why are you travelling alone? ทำไมเดินทางเพียงคนเดียว
A: ตอบตามความเป็นจริงเช่น สามี/ภรรยาติดภาระกิจสำคัญ ไม่สามารถลาหยุดงานได้ (แสดงหลักฐานการงานของสามี/ภรรยา) เป็นต้น
 

Q: Why do you need to travel during this specific time? ทำไมเดินทางในช่วงเวลานี้
A: เตรียมข้อมูลให้พร้อม ตอบตามความเป็นจริง เช่น ลาหยุดงานได้ช่วงนี้ (แสดงจดหมายอนุมัติลาหยุดงาน)
 

Q: Have you been outside Thailand recently? เร็วๆนี้ ท่านเดินทางออกนอกประเทศไทยบ้างไหม
A: ตอบตามความเป็นจริง
 

Q: How long will you stay in the US? ตั้งใจไปพำนักในอเมริกานานแค่ไหน
A: ตอบตามความเป็นจริง (ข้อมูลต้องตรงกับที่กรอกในใบสมัคร)
 

Q: Do you intend to live permanently in the US? อยากพำนักอาศัยถาวรในอเมริกาหรือไม่
A: ตอบปฏิเสธอย่างชัดเจนว่า NO
*อธิบายเหตุผลให้หนักแน่นว่า มีภาระกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบสำคัญที่บ้านเกิดเมืองนอนในประเทศไทย ที่จำเป็นต้องกลับมาดูแล เมื่อเสร็จธุระในอเมริกา
 

Q: What is the evidence to prove your intent to return home in Thailand? หลักฐานยืนยันความตั้งใจที่จะเดินทางกลับประเทศไทย
A: ตอบตามความเป็นจริง สั้นๆ กระชับ ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ ให้เจ้าหน้าที่มีความมั่นใจว่า เมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจในอเมริกา ท่านจะเดินทางกลับออกไป (หากถูกร้องขอหลักฐาน ให้ยื่นเอกสารแสดงความรับผิดชอบสำคัญในหน้าที่การงานหรือธุรกิจที่ทำให้ต้องกลับมา รูปถ่ายสมาชิกสำคัญในครอบครัว (เช่น ลูก ภรรยา บิดามารดา ฯ) หลักฐานหรือรูปถ่ายทรัพย์สินที่ถือครอง อาคาร บ้านเรือน รถยนต์ เอกสารหรือรูปถ่ายแสดงบทบาทหน้าที่สำคัญในสังคมหรือในชุมชน ฯ) 

 

♦ คำถามวีซ่านักเรียนอเมริกา (F-1 Visa) 

Q: Why are you leaving your present job? ทำไมลาออกจากงานปัจจุบัน
A: ตอบตามความเป็นจริงเช่น ต้องการไปเรียนต่อในอเมริกา เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงาน เมื่อเรียนจบกลับมาทำงานในประเทศไทย

 
Q: Are you planning to work in the US? ตั้งใจหางานทำในอเมริกาหรือไม่
A: ตอบปฏิเสธอย่างชัดเจนว่า No
*ชี้แจงเพิ่มเติมว่า มีเงินเพียงพอครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดระหว่างเรียนในอเมริกา ต้องการตั้งใจเรียนเพื่อให้ได้ผลการเรียนที่ดีที่สุด เพื่อกลับมาทำงานในประเทศไทย 

  

♦ คำถามวีซ่านักเรียนแลกเปลี่ยน (J-1 Visa) 

Q: What is your major of study? เรียนสาขาวิชาเอกใด
A: ตอบตามความเป็นจริง (ข้อมูลตรงกับที่กรอกในใบสมัคร)

Q: Where will you work this summer in the US? ไปทำงานโครงการแลกเปลี่ยนที่ไหนในอเมริกา 
A: ตอบตามความเป็นจริง (ข้อมูลตรงกับที่กรอกในใบสมัคร)
 

Q: What do you plan for your future? วางแผนในอนาคตไว้อย่างไร
A: ตอบตามความเป็นจริงเช่น เมื่อจบการฝึกงานในอเมริกา จะกลับมาเรียนต่อให้จบ ประสพการณ์ที่ได้รับ เพิ่มโอกาสในการหางานที่ดีในประเทศไทย 

หมายเหตุ: ตัวอย่างคำถามเพิ่มเติม อาจค้นหาดูใน Google พิมพ์คำว่า "วีซ่าอเมริกา pantip" 

 

สถานทูต/สถานกงสุลอเมริกา :
*แผนกบริการลูกค้าสัมพันธ์ ไปที่เว็บ https://www.ustraveldocs.com/th/th-main-contactus.asp

ที่อยู่:

สถานทูตอเมริกาในกรุงเทพมหานคร
95 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กทม. 10330


สถานกงสุลอเมริกาในเชียงใหม่
387 ถ. วิชยานนท์ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง เชียงใหม่ 50300

 

อีเมล์คำถาม :
อีเมล์คำถามเกี่ยวกับวีซ่าชั่วคราวและวีซ่าถาวรอเมริกา โปรดส่งไปที่: support-thailand@ustraveldocs.com 

ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ เวลาทำการ:
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 a.m. – 8:00 p.m. (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ของไทยและสหรัฐอเมริกา)
เบอร์โทรในประเทศไทย 02-105 4110 เบอร์โทรในสหรัฐอเมริกา (703)-665-7349 

ข้อแนะนำ: สถานทูตอเมริกาในกรุงเทพมหานครไม่มีที่จอดรถ โปรดใช้บริการรถขนส่งสาธารณะ สถานีรถไฟฟ้า BTS ใกล้ที่สุดคือ สถานีเพลินจิต (ออกประตู 5 : ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 15 นาที) เช่นกัน สถานกงสุลอเมริกาในเชียงใหม่ไม่มีบริการที่จอดรถ

สถานทูตไม่มีสถานที่เพื่อจัดเก็บรักษาสิ่งของต้องห้ามใดๆ ท่านควรหาสถานที่ฝากของไว้ล่วงหน้าก่อนเดินทางเข้ามาในสถานทูต ในกรณีนำสิ่งของต้องห้ามติดตัวมา ท่านจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในสถานทูต (เป็นเหตุให้ท่านต้องจองวันนัดสัมภาษณ์ใหม่) รวมทั้งผู้ติดตามจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตสถานทูต


รายการสิ่งของห้ามนำเข้ามาในสถานทูต/สถานกงสุล โปรดดูที่เว็บ https://www.ustraveldocs.com/th/th-niv-securityinfo.asp

ห้องนั่งรอสัมภาษณ์ในสถานทูต/สถานกงสุล เป็นสถานที่ปรับอากาศมิดชิด แต่ไม่มีระบบกรองฝุ่นหรือกรองอากาศใดๆ หากในช่วงใดที่มีสภาวะคุณภาพอากาศเป็นพิษหรือมีฝุ่นควัน ท่านสามารถสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นได้ในระหว่างนั่งรอ อย่างไรก็ตามในระหว่างการตรวจโดยหน่วยรักษาความปลอดภัยหรือในระหว่างการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ ท่านต้องถอดหน้ากากกันฝุ่นออก

ในกรณีสภาวะอากาศเป็นพิษหรือมีฝุ่นควัน หากต้องการเลื่อนวันสัมภาษณ์ ท่านสามารถทำได้ถึง 3 ครั้ง โดยไม่มีค่าธรรมเนียมใด ดูรายละเอียดที่ ดูรายละเอียดที่ https://www.ustraveldocs.com/th/th-niv-appointmentschedule.asp#RestrictionstoChangingAppointments

 

 

วันหยุดสถานทูต/สถานกงสุลอเมริกัน ประจำปี 2023 :
January 2 : วันปีใหม่ (หยุดชดเชย)
January 16 : วันคล้ายวันเกิด Marin Luther King, Jr.
February 20 : Presidents' Day
April 6 : วันจักรี
April 13-14: วันหยุดสงกรานต์

May 4 : วันฉัตรมงคล
May 29 : Memorial Day
June 5 : วันเฉลิมพระชนม์ราชินี (หยุดชดเชย)
June 19 : วันอิสรภาพแห่งชาติ 
July 4 : วันชาติอเมริกา 
July 28 : วันเฉลิมพระชนม์ร. 10
August 14 : วันแม่ (หยุดชดเชย)
September 4 : Labor Day
October 9 : Columbus Day
October 23 : วันปิยมหาราช  
November 10 : Veterans Day
November 23 : Thanksgiving Day
December 5 : วันพ่อ 
December 25 : วันคริสต์มาส 



 

ข่าวสารวีซ่าอเมริกาดูที่นี่ :

 

June 17, 2023 : Nonimmigrant Visa Fee (NIV) Increase - ปรับค่าธรรมเนียมขึ้นดังต่อไปนี้
• คำขอวีซ่าชั่วคราว (Visitor visas) ประเภท B1/B2s และ BCCs เพื่อเข้ามาติดต่อธุรกิจ (Business) หรือมาท่องเที่ยว (Tourism) รวมถึงคำขอวีซ่าชั่วคราวในประเภทนักเรียน (Student) และวีซ่าแลกเปลี่ยนประเภท F, M และ J Visas ปรับขึ้นเป็น US$185 (จากเดิม US$160) 
• คำขอวีซ่าชั่วคราวในประเภทคนงาน (Temporary workers) ในประเภท H / L / O / P / Q และ R ปรับขึ้นเป็น US$205 (เดิม US$190)
• คำขอวีซ่าชั่วคราวในประเภทผู้ค้า (Treaty trader) ผู้ประกอบการลงทุน (Treaty investor) และนักวิชาชีพเฉพาะทาง (Treaty applicants in a specialty occupation) ในกลุ่มวีซ่าไม่ถาวรย้ายถิ่นฐาน (Nonimmigrant E category) ปรับขึ้นเป็น US$315 (เดิม US$205)

 

April, 2023 : โปรแกรม Visa Renewal by Mail - ผู้ที่มีวีซ่า B1/B2 (Business/Tourism) ขอต่อวีซ่าได้ทางไปรษณีย์ โดยไม่ต้องเข้ารับการสัมภาษณ์ ใช้เวลาประมาณ 30 วัน ผู้ขอต่อวีซ่ามีคุณสมบัติดังนี้คือ วีซ่า B1/B2 หมดอายุไม่เกิน 48 เดือน วีซ่าไม่ได้สูญหายหรือถูกยกเลิก / ผู้ขอวีซ่าพำนักในประเทศไทย / ชื่อนามสกุล-วันเดือนปีเกิด ในพาสปอร์ตและในวีซ่า มีข้อมูลตรงกัน / ไม่เคยถูกปฏิเสธการเดินทางเข้าสหรัฐ ไม่เคยถูกปฏิเสธวีซ่า หรือหากถูกปฏิเสธ ต่อมาได้รับอนุมัติวีซ่าเมื่อยื่นในภายหลัง และอื่นๆ ฯ  

* ผู้มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามข้างต้น หรือผู้ต้องการขอวีซ่าเร่งด่วน หรือจำเป็นต้องใช้พาสปอร์ต ควรยื่นช่องทางปรกติคือ ขอนัดเข้ารับการสัมภาษณ์ (In-person interview)  

 

Jan 25, 2023 : นักศึกษาต่างชาติ (International students) เข้ามาช่วยส่งเสริมกิจการธุรกิจและบริษัทต่างๆในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับผลประโยขน์มากมายจากการจ้างงานนักเรียนต่างชาติ ผู้มีความมุ่งมั่นเข้ามาศึกษาในอเมริกา ปรับตัวเองเข้ากับสังคมอเมริกัน ใช้ทักษะความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาใช้ในการทำงาน และเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STEM talent gap) ที่เกิดขึ้นมาอย่างยืดเยื้อในอเมริกา ดูรายงาน Harvey Nash Group 2022's Report
* ใบอนุญาตทำงาน (Work authorization) สำหรับนักศึกษาต่างชาติในอเมริกามี 2 ประเภทหลักคือ Curricular Practical Training (CPT) และ Optional Practical Training (OPT) ความแตกต่างคือ ระยะเวลาการทำงาน และประเภทของงาน

 

January 5, 2023 : ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกา (CDC) ประกาศว่า ผู้โดยสารอายุ 2 ปีขึ้นไปต้องแสดงผลตรวจ COVID-19 ที่เป็นลบ จัดทำในช่วง 2 วันก่อนเดินทาง หรือหลักฐานยืนยันหายจากโรคโควิดภายในช่วง 90 วัน เมื่อขึ้นเครื่องบินมาจากประเทศจีน เขตปกครองพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า รวมถึงได้พำนักในประเทศดังกล่าวในช่วง 10 วันก่อนเดินทาง โดยเดินทางผ่านสนามบิน Incheon (เกาหลีใต้) Toronto Pearson และ Vancouver (แคนาดา) ดูข้อมูลเว็บไซต์ CDC

 

Nov 8, 2022 : หน่วยงานวีซ่าอเมริกาทั่วโลกอนุมัติวีซ่าได้อย่างรวดเร็วมากกว่าที่คาด โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ (Department of State : DOS) ได้เพิ่มการจ้างงานบุคคลากรในต่างประเทศจำนวนเท่าตัว และคาดหวังว่าภายในปีนี้ กระบวนการอนุมัติวีซ่า (Visa processing capacity) ทำได้รวดเร็วในระดับเดียวกันกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด COVID-19 

นอกจากนี้ เตรียมต่อขยายนโยบายงดเว้นสัมภาษณ์ Interview waiver (IW) applications ไปถึงปี 2023 สำหรับผู้ขอวีซ่าชั่วคราวในประเภท H-1 / H-3 / H-4 / L / O / P / และ Q ผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนและยื่นขอวีซ่าในประเทศบ้านเกิดหรือประเทศที่พำนักอยู่ เคยได้รับอนุมัติวีซ่าอเมริกามาก่อน หรือผู้ขอวีซ่าครั้งแรกในประเภท F / M หรือ J ผู้เป็นพลเมืองประเทศที่มีข้อตกลงยกเว้นวีซ่ากับอเมริกา Visa Waiver Program (VWP)
* ประเทศไทยไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มประเทศ VWP
 

Oct 21, 2022 : ระเบียบคำสั่งของ Centers for Diseases Control and Prevention (CDC) ยังคงมีผลบังคับใช้ นั่นคือ ผู้เดินทางจากต่างประเทศด้วยสายการบินเข้าสู่สหรัฐอเมริกาที่ ไม่ใช่ ผู้ถือสัญชาติอเมริกัน (Non-U.S. citizen) พลเมืองอเมริกัน (Non-US national) ผู้ถือสถานะประชากรถาวรอเมริกา (Non-Lawful permanent resident) หรือผู้โยกย้ายถิ่นฐานถาวร (Non-Immigrant visa holder) ต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีน (Proof of vaccination) ก่อนขึ้นเครื่องบิน

May 3, 2022 : USCIS ประกาศว่า แรงงานต่างชาติใช้ใบอนุญาตทำงานที่หมดอายุแล้ว (Expired work permits) ต่อไปได้อีก 18 เดือน ในระหว่างรอรับใบอนุญาตใหม่ (นโยบายชั่วคราวนี้มีผลบังคับใช้จนถึง Oct 2023)
* โดยปรกติ US work permits มีอายุ 2 ปีและต่ออายุโดยอัตโนมัติไปอีกเพียง 180 วัน เพื่อให้แรงงานต่างชาติทำงานต่อไปได้อย่างถูกกฏหมายในระหว่างขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน
 

Feb 10, 2022 : ข้อมูลล่าสุดวีซ่าทำงาน H-1B Visa (โปรแกรมก่อตั้งในปี 1990) เป็นช่องทางสำหรับแรงงานฝีมือระดับสูง หรือนักวิชาชีพสาขาต่างๆ (Specialty occupations) ผู้จบปริญญาตรีหรือสูงกว่าเช่น นักบัญชี นักคอมพิวเตอร์ นักกฏหมาย วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ หรือสถาปนิก เป็นต้น ให้เข้ามาทำงานและพำนักถาวรในสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกัน บริษัทและธุรกิจอเมริกันได้รับผลประโยชน์จากการจ้างแรงงานต่างชาติในสาขาวิชาชีพขาดแคลนในอเมริกา

H-1B Visa มีโควต้า 85,000 ตำแหน่งต่อปี โดย 20,000 ตำแหน่งถูกกันไว้ให้ชาวต่างชาติผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาโท/หรือปริญญาเอกจากสถาบันการศึกษาในอเมริกา (หากนายจ้างเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูง องค์กรเอกชนไม่หวังผลกำไร สถาบันวิจัยของรัฐบาล ฯ ไม่มีข้อจำกัดด้านโควต้า) อนึ่ง USCIS เปิดรับใบสมัครวีซ่าทำงานสายวิชาชีพ H-1B petitions ในวันที่ April 1 ของทุกปี ส่วนนายจ้างควรเตรียมตัวภายใน January 
(
วีซ่า H-1B visa มีอายุ 3 ปี และต่ออายุได้อีก 3 ปี หากแรงงานต่างชาติได้รับการสปอนเซอร์เพื่อขอกรีนการ์ดโดยนายจ้าง โดยคู่สมรสและบุตรอายุต่ำกว่า 21 ปี ได้รับวีซ่า H-4 visa เพื่อพำนักอาศัยในอเมริกา)

หมายเหตุ : ระบบใหม่เริ่มปี 2020 นายจ้างต้องลงทะเบียนออนไลน์สำหรับโปรแกรม H-1B Lottery ก่อนยื่นใบสมัครและส่งเอกสารจริงภายใน 90 วัน หากได้รับการคัดเลือก
* วีซ่า H-1B เป็นขั้นตอนแรกสุดในการยื่นขอสถานะประชากรถาวรอเมริกา (หรือ "กรีนการ์ด") และขอสัญชาติอเมริกันต่อไป  

Jan 21, 2022 : กระทรวงความมั่นคงภายใน (Department of Homeland Security) ประกาศล่าสุด เพิ่มอีก 22 สาขาวิชา (เช่น Bioenergy, Forestry, Cloud Computing, Data Visualization, Financial Analytics, etc.) สำหรับนักศึกษาต่างชาติผู้ถือสถานะวีซ่านักเรียน F-1 status และเป็นผู้ที่เรียนในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (Science, Technology, Engineering, and Mathematics : STEM) โดยหลังจบการศึกษา ทำงานในสหรัฐอเมริกาได้เป็นเวลา 3 ปีเต็ม ภายใต้โครงการ STEM Optional Practical Training Program (นักศึกษาต่างชาติผู้เรียนจบสาขาอื่น ได้รับสิทธิ์ทำงาน 1 ปี)

  

 

 

 

วีซ่าชั่วคราวผู้ประกอบการค้าและนักลงทุนภายใต้สนธิสัญญา (วีซ่า E-1 / วีซ่า E-2 อเมริกา)

วีซ่าชั่วคราวอเมริกาสำหรับผู้ประกอบการค้าภายใต้สนธิสัญญา Treaty Trader (E-1) และนักลงทุนภายใต้สนธิสัญญา Treaty Investor (E-2) เป็นวีซ่าชั่วคราวที่อนุมัติให้กับพลเมืองของประเทศที่ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงสนธิสัญญาและลู่ทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศดังกล่าว

วีซ่าชั่วคราวผู้ประกอบการอเมริกา Treaty Trader (E-1) และวีซ่าชั่วคราวนักลงทุนอเมริกา Treaty Investor (วีซ่า E-2 อเมริกา) เป็นวีซ่าที่ออกให้กับนักธุรกิจผู้เดินทางเข้ามาในอเมริกา ด้วยวัตถุประสงค์:

• เข้าร่วมในกิจกรรมการค้าซึ่งมีการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ หมายรวมถึงกิจการด้านบริการหรือเทคโนโลยี ที่เป็นธุรกิจหลักระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศคู่ค้า; หรือ

• เข้าร่วมพัฒนาและกำกับการดำเนินงานของกิจการค้า ที่ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนได้เข้ามาลงทุนในจำนวนที่มีนัยสำคัญ

*คู่สมรสและบุตรที่ยังโสดอายุต่ำกว่า 21 ปี ของผู้ประกอบการและนักลงทุน หรือพนักงานของกิจการค้า อาจได้รับวีซ่าผู้ติดตาม (Dependent E visas) เพื่อเดินทางมาพร้อมกันหรือติดตามมาภายหลังก็ได้ ผู้ติดตามไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติเดียวกันกับผู้สมัครหลักก็ได้ ในการได้รับอนุมัติ E visa

E visas อนุญาตให้นักลงทุน / หรือผู้ประกอบการ และสมาชิกในครอบครัวเข้ามาพำนักอาศัยในอเมริกาได้ในช่วงระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ - Department of Homeland Security (DHS)


E visas เป็นวีซ่าชั่วคราว (Nonimmigrant visas) ดังนั้น ผู้ถือวีซ่า E ดังกล่าว ได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในอเมริกา ได้ตราบนานเท่าที่วีซ่ายังมีอายุ ผู้ถือ E visas ต้องเดินทางกลับออกไปจากอเมริกาเมื่อสถานะ E status สิ้นสุดลง

ผู้ติดตามไม่สามารถทำงานในอเมริกาได้ ยกเว้นหากได้รับอนุญาตเป็นการเฉพาะจากกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ-สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (DHS-USCIS) ผู้ติดตามยื่นขอใบอนุญาตทำงานได้ หลังจากได้เดินทางเข้ามาในอเมริกาแล้ว

 

คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ขอ E visas (เลือกประเภทของ E visa ให้ถูกต้อง) :

• Treaty Trader Visa (E-1)

• Treaty Investor Visa (E-2)

สำหรับวิธีการขอ E-1 หรือ E-2 คลิ๊กดูรายละเอียดที่นี่ click here

Question: E visa ใช้เวลาขอนานไหม?
Answer: E-visa application ใช้เวลาดำเนินการยาวนานกว่า 4 สัปดาห์ ดังนั้นทางสถานทูตต้องได้รับเอกสารใบสมัครและเอกสารประกอบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วันทำการก่อนถึงวันนัดสัมภาษณ์ หากจัดส่งเอกสารให้สถานทูตล่าช้า มีผลให้การจองวันนัดสัมภาษณ์ทำได้ล่าช้าเช่นกัน

ข้อแนะนำคือ ผู้ขอวีซ่าควรเตรียมเอกสารประกอบต่างๆให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นค่อยทำการจองคิววันนัดสัมภาษณ์ หากท่านจองวันนัดฯได้แล้ว แต่ส่งเอกสารไปล่าช้า ทำให้สถานทูตมีเวลาตรวจสอบเอกสารน้อยกว่า 15 วันทำการก่อนถึงวันนัดสัมภาษณ์ ในกรณีนี้ สถานทูตจำเป็นต้องเลื่อนวันนัดออกไปอีกอย่างน้อย 3 สัปดาห์ โปรดสังเกตุ ท่านเลื่อนวันนัดได้ 3 ครั้ง หากเกินกว่านั้น ต้องชำระค่าธรรมเนียมใหม่ และต้องเริ่มต้นกระบวนการใหม่ทั้งหมด

 

วิธียื่นคำร้องขอ E visas ใหม่ (กรณีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน)

ผู้ขอวีซ่า (E visa applicant) มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนเพราะยื่นเอกสารหรือข้อมูลไม่ครบถ้วน - Ineligible under Section 221(g) : หลังยื่นเรื่องแล้ว ผู้ขอวีซ่าจะได้รับจดหมายติดต่อจากสถานทูตอเมริกา ชี้แจงเอกสารเพิ่มเติมที่ต้องการรวมถึงวิธีการจัดส่ง ผู้ขอวีซ่าไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมใหม่ หากยื่นเอกสารไปให้สถานทูตภายในเวลาไม่เกินหนึ่งปี

ผู้ขอวีซ่าถูกปฏิเสธเพราะมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ด้วยเหตุผลด้านสถานะทางครอบครัว-สังคม-อาชีพการงานหรือเศรษฐกิจที่ไม่แข็งแรง - Ineligible under Section 214(b) : ผู้ขอวีซ่าจะได้รับจดหมายปฏิเสธจากสถานทูตอเมริกา ชี้แจงเหตุผล โดยสถานทูตแนะนำให้ยื่นเรื่องใหม่ ต่อเมื่อเงื่อนไขทางครอบครัว สังคม วิชาชีพ หรือด้านเศรษฐกิจ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ และ/หรือ หากมีข้อเท็จจริงอันใดที่มีสาระสำคัญ แต่ไม่ได้นำเสนอไปในตอนสัมภาษณ์ครั้งแรก

 

 

วีซ่าถาวรอเมริกาประเภทนักลงทุน (US EB-5 Immigrant Investor)

วีซ่าถาวรอเมริกานักลงทุน (EB-5 Investor Visa) เป็นวีซ่าถาวร (Permanent resident visa) ที่อนุมัติให้กับผู้มีฐานะหรือมีทรัพย์สินจากทั่วโลก ผู้เข้ามาลงทุนในโครงการที่ก่อให้เกิดการสร้างงานในอเมริกา โดยรัฐบาลอเมริกันจัดสรรกรีนคาร์ดให้กับผู้สมัครในประเภทนี้จำนวน 10,000 คนต่อปี รายละเอียดดูที่ วีซ่าถาวรนักลงทุนอเมริกา

   

 

 

 

คำถาม-คำตอบทั่วไป
Questions – Answers (General)


Q.1 พาสปอร์ตควรมีอายุเท่าไหร่ ในการทำวีซ่าอเมริกา?
พาสปอร์ตควรมีอายุอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าหกเดือน โดยให้นับจากช่วงเวลาหลังสิ้นสุดการพำนักในอเมริกา

 

Q.2 ประเทศที่ได้รับยกเว้นการขอวีซ่าเข้าอเมริกา
ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในลิสต์ ประเทศที่ได้รับยกเว้นการขอวีซ่าเข้าอเมริกา
 

Q.3 ESTA คืออะไร?
พลเมืองประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่าเข้าอเมริกา ให้ลงทะเบียน ESTA registration ทางออนไลน์ ก่อนเดินทางเข้าอเมริกา

 

Q.4 หากเดินทางเข้าอเมริกาโดยไม่มี ESTA จะเกิดอะไรขึ้น?
พลเมืองประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่าเข้าอเมริกา หากไม่ได้ลงทะเบียนล่วงหน้า ESTA registration สายการบินจะปฏิเสธไม่ให้ขึ้นเครื่องบิน หรือหากบังเอิญขึ้นเครื่องไปได้ ก็อาจจะถูกปฏิเสธไม่ให้เดินทางเข้าอเมริกา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองจุดต่างๆในอเมริกา

 

Q.5 หากเป็นพลเมืองประเทศอื่น ที่เข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทย สามารถยื่นขอวีซ่าชั่วคราวอเมริกา nonimmigrant visa ในประเทศไทยได้หรือไม่?
โดยปรกติ ผู้ขอวีซ่าอเมริกาควรยื่นเรื่องในประเทศบ้านเกิด หรือประเทศที่พำนักอาศัยถาวรอยู่ อย่างไรก็ตาม บุคคลใดๆที่อยู่ในประเทศไทย อาจยื่นขอวีซ่าอเมริกาในไทยได้ การตัดสินใจว่าควรยื่นขอวีซ่าในประเทศใด ไม่ควรคำนึงเพียงเรื่องความสะดวก หรือเพียงหาช่องทางหลีกเลี่ยงเวลารอคอยวีซ่าที่อาจยาวนานกว่าหากยื่นเรื่องในประเทศบ้านเกิด หลักสำคัญคือ ผู้ขอวีซ่าควรยื่นเรื่องในประเทศใดก็ตาม ที่ท่านมั่นใจว่าสามารถนำเสนอข้อมูลและหรือเอกสารแสดงความเชื่อมโยงผูกพันที่มั่นคงแข็งแรงกับประเทศนั้นๆ เพื่อให้มีโอกาสมากที่สุดในการได้รับอนุมัติวีซ่า
 

Q.6 ผู้ทำวีซ่าอเมริกาทุกคน ต้องเข้ารับการสัมภาษณ์ที่สถานทูตหรือสถานกงสุล ใช่หรือไม่?
ถูกต้อง ผู้ขอวีซ่าอเมริกาส่วนใหญ่ต้องเข้ารับการสัมภาษณ์ อาจมีข้อยกเว้นบางประการสำหรับผู้ขอวีซ่ากลุ่มต่อไปนี้คือ เจ้าหน้าที่รัฐบาลที่ไปติดต่องานราชการหรือติดต่องานองค์กรระหว่างประเทศ หรือลูกจ้างพนักงานขององค์กรระหว่างประเทศ

 

Q.7 วีซ่าอเมริกาที่ถืออยู่ใกล้หมดอายุและต้องการขอต่อวีซ่าใหม่ จำเป็นต้องทำวีซ่าอเมริกาโดยเรื่องยื่นใหม่ทั้งหมดเลยใช่ไหม?
ถูกต้อง ท่านต้องยื่นเรื่องใหม่ทั้งหมด การขอวีซ่าอเมริกาแต่ละครั้งเป็นกระบวนการที่แยกออกเป็นอิสระจากกัน ถึงแม้ท่านอาจเคยมีวีซ่าอเมริกามาก่อน หรือวีซ่ายังมีอายุอยู่ก็ตาม
 

Q.8 พาสปอร์ตหมดอายุแล้ว แต่วีซ่าอเมริกายังคงมีอายุอยู่ จำเป็นต้องขอวีซ่าใหม่หรือไม่?
ไม่จำเป็น หากวีซ่าอเมริกายังคงมีอายุ ท่านสามารถใช้เดินทางเข้าไปในอเมริกาได้โดยให้ถือพาสปอร์ตพร้อมกันทั้งสองเล่ม (เก่าและใหม่) ตราบเท่าที่วีซ่ายังคงมีอายุอยู่และไม่ฉีกขาดเสียหาย อย่างไรก็ตาม ชื่อและข้อมูลต่างๆในพาสปอร์ตทั้งสองเล่มควรตรงกัน


Q.9 หากข้าพเจ้าถือครองสองสัญชาติ ควรใช้พาสปอร์ตเล่มใดเดินทางเข้าอเมริกา?
เลือกใช้พาสปอร์ตเล่มใดก็ได้ที่เหมาะสมตามความต้องการ ในกรณีต้องขอวีซ่าเข้าอเมริกา ท่านต้องเปิดเผยการถือครองทั้งสองสัญชาติในใบสมัคร หากท่านถือครองสองสัญชาติ รวมถึงสัญชาติอเมริกัน ควรใช้พาสปอร์ตอเมริกาในการเข้า-ออกสหรัฐอเมริกา


Q.10 ยื่นขอต่อวีซ่าอเมริกาอย่างไร?
วีซ่าอเมริกาไม่สามารถต่ออายุได้ ไม่ว่าเป็นวีซ่าประเภทใด หากหมดอายุ ต้องยื่นขอวีซ่าใหม่


Q.11 แบบฟอร์มขอวีซ่าอเมริกา ต้องยื่นทางออนไลน์เท่านั้นใช่หรือไม่?
ถูกต้อง ผู้ขอวีซ่าอเมริกาต้องกรอกแบบฟอร์มขอวีซ่าอเมริกาออนไลน์ DS-160 ให้เสร็จเรียบร้อย จากนั้นพิมพ์สำเนาหน้า DS-160 confirmation page ออกมา ให้นำเอกสารนี้ติดตัวไปด้วย ตอนเข้ารับการสัมภาษณ์ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลอเมริกา

Q.13 วิธีตรวจสอบความถูกต้องและทำความเข้าใจเนื้อหาในวีซ่า?
เมื่อได้รับวีซ่าอเมริกา ให้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่พิมพ์ลงในวีซ่า หากข้อมูลไม่ถูกต้อง ให้ติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลผู้อนุมัติวีซ่าโดยทันที

วันหมดอายุในวีซ่าอเมริกา คือวันสุดท้ายที่ท่านอาจใช้เดินทางเข้าสหรัฐอเมริกา ในวีซ่าจะไม่ระบุว่า ท่านพำนักอยู่ในอเมริกาได้นานเท่าใด เจ้าหน้าที่กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security) ที่สนามบินหรือด่านตรวจคนเข้าเมืองอเมริกา เป็นผู้ตัดสินใจว่า จะอนุญาตให้พำนักอยู่ในอเมริกาได้นานเท่าใด ผู้เดินทางเข้าออกที่ไม่เคยฝ่าฝืนกฏหมาย โดยปรกติได้รับอนุญาตให้พำนักในอเมริกาได้นาน 6 เดือนอย่างไม่มีปัญหาใดๆ

Q.14 วีซ่าอเมริกาหมดอายุระหว่างอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีปัญหาไหม?
ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ท่านยังคงพำนักอาศัยอยู่ในอเมริกาได้ต่อไป ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ในตอนตรวจลงตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอเมริกา เจ้าหน้าที่จะประทับตรา พร้อมระบุวันที่ แสดงถึงระยะเวลาที่ท่านได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในอเมริกาได้นานเท่าใด

Q.15 ตอนเดินทางเข้าอเมริกา ต้องเตรียมตัวอย่างไร?
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจะมอบใบสำแดงสิ่งของด้านศุลกากร (Customs Declaration form 6059B) ให้ท่านกรอก หากเดินทางมาพร้อมกันเป็นครอบครัว ให้กรอกเพียงใบเดียวก็เพียงพอ

การมีวีซ่าอเมริกา ไม่ได้ยืนยันว่า ผู้ถือวีซ่าจะเดินทางเข้ามายังอเมริกาได้เสมอไป วีซ่าอเมริกาใช้เพื่อการเดินทางสำหรับชาวต่างชาติเข้ามาที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอเมริกา จากนั้น เจ้าหน้าที่กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (US Department of Homeland Security) และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (U.S. Customs and Border Protection : CBP) เป็นผู้มีอำนาจในการอนุญาตให้เดินทางเข้าอเมริกา หรืออาจปฏิเสธไม่ให้เข้าอเมริกา รวมทั้งเป็นผู้พิจารณาว่าจะให้พำนักในอเมริกาได้ยาวนานเท่าใด ในสมัยก่อน ผู้เดินทางได้รับใบ I-94 (Record of Admission) ระบุระยะเวลาที่อนุญาตให้พำนัก ปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ระบบอัตโนมัตินั่นคือ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประทับตราลงในพาสปอร์ต ที่แสดงวันที่ ประเภทของวีซ่า และระยะเวลาอนุญาตให้พำนักได้ถึงวันที่เท่าใด หากผู้เดินทางต้องการสำเนาใบ I-94 เพื่อใช้ลงทะเบียนคนต่างด้าว ตรวจสอบสถานะอิมมิเกรชั่น หรือขอใบอนุญาตทำงาน สามารถเข้าไปที่ www.cbp.gov/I94

*ผู้ถือวีซ่าท่องเที่ยว visitor visa (B-1/B-2) ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในอเมริกา

หมายเหตุ: ท่านไม่ควรอยู่เกินกำหนดวันที่ได้รับอนุญาต หากไม่ได้เดินทางออกไปหลังวันดังกล่าว ท่านจะไม่มีสถานะในอเมริกา ภายใต้กฏหมาย วีซ่าอเมริกาของท่านจะเป็นโมฆะโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ท่านถือครองวีซ่าชนิดเดินทางเข้าออกได้หลายครั้ง (Multiple visa) วีซ่าจะหมดอายุและใช้เดินทางเข้าอเมริกาไม่ได้ในอนาคต นอกจากนี้ การอยู่เกินกำหนดวันที่ได้รับอนุญาต ส่งผลให้ท่านไม่มีคุณสมบัติยื่นขอวีซ่าอเมริกาได้ในอนาคต

หากต้องการขอขยายระยะเวลาพำนักในอเมริกา ท่านต้องยื่นใบคำร้อง (Form I-539) ไปยังหน่วยงาน USCIS ก่อนวันที่ได้รับอนุญาตจะหมดอายุลง (ควรยื่นอย่างน้อย 45 วันก่อนหมดวันอายุ)


Q.16 หากลืมคืนใบ I-94 ตอนออกจากอเมริกา ควรทำอย่างไร?
ก่อนหน้านั้น ผู้เดินทางได้รับใบ Form I-94 (Arrival/Departure Record) จากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ปัจจุบันกระบวนการเปลี่ยนไปใช้ระบบอัตโนมัติ โดยเจ้าหน้าที่สแตมป์วันที่ลงในพาสปอร์ต (เอกสาร I-94 จะถูกสร้างขึ้นทันที และเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลเดินทางเข้า-ออกลงในระบบโดยทางอิเลคโทรนิคส์) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ท่านได้รับใบ I-94 หรือ I-94W แล้วลืมคืนใบดังกล่าวให้กับสายการบินหรือหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองตอนเดินทางออกจากอเมริกา ท่านไม่จำเป็นต้องส่งเอกสารดังกล่าวคืนไปให้สถานทูตหรือสถานกงสุลอเมริกาแต่อย่างใด

Q.17 หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ในการกรอกแบบฟอร์มขอวีซ่าอเมริกา DS-160 รวมถึงวิธีสั่งพิมพ์หน้า Confirmation page หาคำตอบได้ที่ไหน?
หากมีคำถามเกี่ยวกับการกรอกแบบฟอร์มขอวีซ่าอเมริกา ให้ไปที่ เว็บนี้
 

Q.18 หากไม่มีบัญชีธนาคารออนไลน์เป็นของตนเอง ให้ผู้อื่นชำระเงินแทนได้ไหม?
หากท่านไม่มีบัญชีธนาคารออนไลน์ ให้ใช้บัญชีออนไลน์ของผู้อื่นแทนได้ เช่น ใช้บัญชีของญาติหรือเพื่อน อีกทางเลือกหนึ่งคือ ไปชำระเงินสดด้วยตนเองที่ธนาคาร
 

Q.19 ผู้ถือบัตร APEC Business Travel Card (ABTC) หากยื่นขอวีซ่าอเมริกา จำเป็นต้องจองวันนัดสัมภาษณ์ทางออนไลน์ด้วยหรือไม่?
เริ่มตั้งแต่ April 1, 2018 เป็นต้นไป ผู้ถือบัตร APEC Cards ไม่ได้รับการยกเว้นอีกต่อไป การจองวันนัดสัมภาษณ์ออนไลน์ โปรดไปที่ เว็บนี้


Q.20 ผู้ได้รับอนุมัติวีซ่าถาวรอเมริกาแล้ว แต่ยังไม่ได้ชุดเอกสารตรวจคนเข้าเมืองในซองปิดผนึกจากสถานทูตฯ (Packet of documents) เพื่อนำติดตัวขึ้นเครื่องบินและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ในวันเดินทางโยกย้ายถิ่นฐานเข้าสู่อเมริกา ในกรณีนี้ ควรปฏิบัติเช่นไร?
ปัจจุบัน กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิเริ่มใช้ระบบอนุมัติทางอิเล็คโทรนิคส์แบบใหม่ ในการอนุมัติวีซ่าถาวรอเมริกาให้กับผู้สมัครบางราย หากศูนย์วีซ่าแห่งชาติ National Visa Center หรือสถานทูต/สถานกงสุลอเมริกา ได้ร้องขอให้ผู้ขอวีซ่าถาวรอเมริกาส่งเอกสารประจำตัวหรือเอกสารด้านการเงินผ่านช่องทางเว็บท่า (CEAC portal) วีซ่าถาวรอเมริกาจะออกโดยระบบอนุมัติวีซ่าทางอิเล็คโทรนิคส์แบบใหม่นี้

กรณียกเว้น หากได้รับแจ้งข้อมูลจากสถานทูต/สถานกงสุลที่สัมภาษณ์และเป็นผู้อนุมัติวีซ่าถาวรอเมริกาว่าไม่มีความจำเป็นต้องพกพาชุดเอกสารตรวจคนเข้าเมือง หากได้รับแจ้งดังนี้ ท่านต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่า เอกสารประจำตัวถูกส่งผ่านช่องทางอิเลคโทรนิคส์จากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ (Department of State) ไปยังกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security : DHS) และหน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง (Customs and Border Protection : CBP) ตามลำดับ ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจตราผู้โยกย้ายถิ่นฐานถาวรเข้าสู่อเมริกา เมื่อท่านเดินทางมาถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบิน ทางบกหรือทางน้ำ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะตรวจสอบข้อมูลของท่านที่อยู่ในระบบฐานข้อมูล ก่อนอนุญาตให้เดินทางเข้าอเมริกา ระบบอนุมัติทางอิเล็คโทรนิคส์แบบใหม่นี้ รวมศูนย์ทุกขั้นตอน ทำให้การตรวจสอบวีซ่าถาวรและกระบวนการโยกย้ายถิ่นฐานถาวรสะดวกมากยิ่งขึ้น
 

Q.21 จะตรวจสอบได้อย่างไรว่า วีซ่าถาวรอเมริกาได้รับอนุมัติภายใต้ระบบใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารอีกต่อไป?
ให้ตรวจดูวีซ่าถาวรอเมริกาที่ได้รับ ในกรณีไม่มีชุดเอกสารตรวจคนเข้าเมืองในซองปิดผนึกดังกล่าว ในวีซ่าถาวรอเมริกาจะมีคำอธิบายอย่างชัดเจนไว้ใต้รูปของท่านบริเวณมุมขวาล่าง โดยระบุ “IV DOCS in CCD” แสดงว่าวีซ่าถาวรอเมริกาออกโดยระบบอนุมัติทางอิเล็คโทรนิคส์แบบใหม่ ไม่จำเป็นต้องใช้ชุดเอกสารตรวจคนเข้าเมืองอีกต่อไป
 

Q.22 ทำไมผู้โยกย้ายถาวรบางคน ต้องพกพาชุดเอกสารตรวจคนเข้าเมืองบรรจุในซองปิดผนึก ไปแสดงที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง แต่บางคนไม่ต้อง?
ระบบอนุมัติทางอิเล็คโทรนิคส์แบบใหม่เพิ่งเริ่มนำมาใช้งานในปี 2018 การปรับเปลี่ยนใบสมัครวีซ่าถาวรอเมริกาในหลากหลายประเภทให้เข้าสู่ระบบใหม่ทั้งหมด ต้องใช้เวลานานหลายปี ดังนั้นผู้ถือวีซ่าถาวรบางคน ยังคงต้องพกพาชุดเอกสารตรวจคนเข้าเมืองบรรจุในซองปิดผนึก ตอนเดินทางเข้าอเมริกาตามระบบเดิม วิธีสังเกตุคือ ผู้ถือวีซ่าถาวรกลุ่มนี้ ถือวีซ่าที่ไม่ได้ระบุประโยค “IV DOCS in CCD” ที่มุมล่างขวาของตัววีซ่า
 

Q.23 ข้อมูลบัญชีโซเชียลมีเดียแบบใด ที่ผู้ขอวีซ่าต้องระบุรายละเอียด ในตอนกรอกแบบฟอร์ม DS 160?
รัฐบาลอเมริกันได้อัพเดตปรับปรุงแบบฟอร์มยื่นขอวีซ่าทางออนไลน์ โดยผู้ขอวีซ่าเกือบทั้งหมดจะต้องให้ข้อมูล ชื่อบัญชีโซเชียลมีเดีย username social names เมื่อกรอกแบบฟอร์มขอวีซ่าทางออนไลน์ DS-160 รูปแบบใหม่ โดยต้องระบุรายละเอียดทั้งบัญชีโซเชียลปัจจุบันรวมถึงบัญชีโซเชียลเก่าที่ได้ถูกลบทิ้งไปแล้ว ที่ท่านใช้ในช่วง 5 ปีย้อนหลังในทุกแฟลตฟอร์ม

มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ May 31, 2019 แบบฟอร์มรุ่นใหม่นี้จัดเก็บข้อมูลชื่อบัญชีโซเชียลมีเดีย ผู้ขอวีซ่าได้ลงทะเบียนไว้กับทุกๆแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเช่น Facebook, Twitter และ Instagram และอื่นๆ โดยผู้ขอวีซ่าชั่วคราว nonimmigrant visas และผู้ขอวีซ่าถาวร immigrant visas ต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ครบถ้วนและตรงไปตรงมา

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นกลไกปรับปรุงกระบวนการคัดกรองตรวจสอบและยืนยันตัวตนผู้ขอวีซ่า เพื่อสนับสนุนต่อการเดินทางท่องเที่ียวชั่วคราวและการโยกย้ายถิ่นฐานถาวรเข้ามาสู่อเมริกาอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ในขณะเดียวกันก็เพื่อปกป้องคุ้มครองพลเมืองสหรัฐอเมริกา

เจ้าหน้าที่กงสุลใช้ข้อมูลบัญชีโซเชียลมีเดียดังกล่าว เพื่อประกอบการพิจารณาคำขอวีซ่า โดยไม่ร้องขอรหัสความปลอดภัยหรือพาสเวิร์ดแต่อย่างใด ในกรณีผู้ขอวีซ่าไม่เคยใช้โซเชียลมีเดีย ให้ระบุในแบบฟอร์มคำขอวีซ่าว่า "None" ซึ่งจะไม่มีผลทำให้ใบคำขอวีซ่าของท่านถูกปฏิเสธแต่อย่างใด ขอให้ท่านตอบคำถามอย่างถูกต้องและเป็นสัตย์จริง การให้ข้อมูลเป็นเท็จหรือไม่ถูกต้องไม่ว่าในใบสมัครหรือในระหว่างการสัมภาษณ์ อาจเป็นผลให้เจ้าหน้าที่กงสุลปฏิเสธการขอวีซ่าของท่านได้

หากท่านมีวีซ่าอเมริกาอยู่ในมือแล้ว กฏใหม่นี้ไม่มีผลกระทบต่อท่าน

เจ้าหน้าที่กงสุลไม่สามารถเข้าไปตรวจดูหรือปรับแก้ไขข้อมูลส่วนตัวของท่านในโซเชียลมีเดียใดๆ สิทธิและความลับส่วนตัวของท่านได้รับการคุ้มครองภายใต้กฏหมายอเมริกา

 

คำถาม-คำตอบ กรณีวีซ่าถูกปฏิเสธ
Questions – Answers (Visa Refusals)

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเสรีและเป็นสังคมเปิด รัฐบาลอเมริกันไม่มีกฏข้อบังคับใดๆที่จะมาควบคุมนักท่องเที่ยวเช่น ต้องไปลงทะเบียนกับหน่วยงานท้องถิ่นเมื่อเดินทางเข้ามาในอเมริกา เป็นต้น กฏหมายตรวจคนเข้าเมืองได้บัญญัติไว้ว่า เจ้าหน้าที่กงสุลจะตั้งสมมุติฐานว่า ผู้ขอวีซ่าทุกคนมีเจตนาอยากโยกย้ายถิ่นฐานถาวรมาสู่อเมริกา ผู้ขอวีซ่ามีภาระหน้าที่ต้องนำเสนอต่อเจ้าหน้าที่ให้เชื่อว่า ผู้ขอวีซ่ามิได้มีเจตนาดังกล่าว หากต้องการได้รับอนุมัติวีซ่าท่องเที่ยวหรือวีซ่านักเรียน หรือวีซ่าชั่วคราวใด เพื่อสิทธิประโยชน์ในการเดินทางเข้ามาอเมริกาอย่างไม่มีข้อจำกัด ท่านควรจัดเตรียมเอกสารให้ดีที่สุด เพื่อพิสูจน์ว่า ท่านจะเดินทางกลับออกไป หลังเสร็จสิ้นภาระกิจในอเมริกา

 

Q.1 มาตรา 214 (b) คืออะไร?
มาตรา 214 (b) ในกฏหมายตรวจคนเข้าเมืองและพลเมืองของอเมริกา the Immigration and Nationality Act (INA) กำหนดไว้ว่า ชาวต่างชาติที่ขอวีซ่าเข้าอเมริกา ถูกตั้งสมมุติฐานว่า มีเจตนาต้องการโยกย้ายถิ่นฐานถาวรมาอยู่ในอเมริกา จนกว่าจะสามารถพิสูจน์หักล้างได้ว่า ไม่มีเจตนาดังกล่าว เจ้าหน้าที่กงสุลจึงจะอนุมัติวีซ่าชั่วคราวให้

เจ้าหน้าที่กงสุลอเมริกันได้รับมอบภาระกิจที่ยากลำบาก ในการพิจารณาในช่วงเวลาสั้นๆเพื่อตัดสินว่าผู้ขอวีซ่าสมควรได้รับอนุมัติวีซ่าหรือไม่ เคสส่วนใหญ่ถูกตัดสินใจหลังการสัมภาษณ์อย่างรวดเร็ว และตรวจดูหลักฐานที่ผู้สมัครนำมาแสดง สาเหตุส่วนใหญ่ของการปฏิเสธคือ ผู้ขอวีซ่าไม่ได้นำเสนอหลักฐานที่น่าเชื่อถือ แสดงความผูกพันที่มั่นคงกับถิ่นพำนักอาศัย หรือแสดงให้เห็นได้ว่า ผู้ขอวีซ่าไม่มีเจตนาละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง ดังนั้นเพื่อการได้รับอนุมัติวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่านักเรียน หรือวีซ่าชั่วคราว ผู้ขอวีซ่าต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความผูกพันกับถิ่นพำนักอาศัยนอกอเมริกา ที่จะบังคับให้ท่านเดินทางออกไป เมื่อสิ้นสุดการพำนักชั่วคราวในอเมริกา ภายใต้กฏหมาย ภาระหน้าที่ในการพิสูจน์ข้อสมมุติฐานเหล่านี้ตกอยู่กับผู้ขอวีซ่า
* ส่วนใหญ่ผู้ขอวีซ่าท่องเที่ยวอเมริกาถูกปฏิเสธภายใต้มาตรา INA Section 214(b)
** ในบางครั้งผู้ขอวีซ่าท่องเที่ยวอาจถูกปฏิเสธภายใต้มาตรา INA Section 221(g) กล่าวคือ ใบสมัครไม่เรียบร้อยสมบูรณ์ ขาดเอกสารบางอย่าง ในจดหมายปฏิเสธ (Denial letter) จะแจ้งให้ทราบว่า ขาดเอกสารใดและต้องส่งไปให้สถานฑูตอเมริกาอย่างไร ดังนั้นผู้สมัครควรรีบส่งเอกสารดังกล่าวให้เร็วที่สุด (ภายใต้ State Department guidelines ให้เวลาถึง 1 ปีนับจากวันถูก)ฏิเสธ)
*** กรณี Administrative Processing กล่าวคือ สถานฑูตต้องการข้อมูลจากแหล่งอื่นนอกเหนือจากผู้สมัคร ผู้ขอวีซ่าจะได้รับจดหมายแจ้งให้ทราบ รวมถึงเวลาที่คาดว่าต้องรอคอยนานเท่าใด
**** กรณี Waiver of Ineligibility กล่าวคือ เจ้าหน้าที่วีซ่าแจ้งว่าท่านมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน และอาจใช้ดุลยพินิจแนะนำให้ท่านยื่นขอยกเว้นในเงื่อนไขดังกล่าว
 

 

Q.2 ผู้ขอวีซ่าแสดงหลักฐานพิสูจน์ “ความผูกพันที่แข็งแรงกับถิ่นพำนักอาศัย” อย่างไร?
ความผูกพันที่แข็งแรงกับถิ่นพำนักอาศัย สามารถแสดงผ่านแง่มุมชีวิตด้านต่างๆของผู้ขอวีซ่า ความผูกพันดังกล่าวมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ แต่ละเมือง แต่ละบุคคล เช่น อาชีพการงาน บ้านพักอาศัย ความสัมพันธ์กับครอบครัว ญาติมิตร และสังคมโดยรวม ในระหว่างการสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่กงสุลพิจารณาผู้สมัครแต่ละคนเป็นรายๆไป ดูความเหมาะสมของแผนการเดินทางมาในอเมริกา ดูแหล่งที่มาของเงิน และความผูกพันเชื่อมโยงกับถิ่นพำนักถาวรนอกสหรัฐอเมริกา ที่เป็นหลักประกันว่า ผู้ขอวีซ่าจะเดินทางกลับออกไป หลังสิ้นสุดภาระกิจและการพำนักชั่วคราวในอเมริกา

 

Q.3 หากถูกปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา2มาตรา14 (b) เป็นการปฏิเสธแบบถาวรหรือไม่?
ไม่ใช่ การถูกปฏิเสธภายใต้มาตรา 214 (b) เป็นเหตุผลที่ใช้เฉพาะเจาะจงกับเคสนั้นๆ เมื่อเคสถูกตัดสินแล้วถือเป็นอันสิ้นสุด เจ้าหน้าที่กงสุลไม่สามารถดำเนินการใดต่อไปได้อีก และไม่มีกระบวนการอุทธรณ์ (Appeal) คำตัดสินวีซ่า หากท่านคิดว่ามีข้อมูลเพิ่มเติมให้เจ้าหน้าที่พิจารณาอีก หรือคิดว่าเงื่อนไขส่วนตัวและสถานะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ท่านสามารถยื่นขอวีซ่าใหม่ได้อีก (Reapply) การยื่นเรื่องใหม่ ท่านต้องกรอกแบบฟอร์มใหม่ (Form DS-160) ชำระค่าธรรมเนียม และจองวันนัดสัมภาษณ์ครั้งใหม่ ดูข้อมูลสถานทูตเพิ่มเติมได้ที่ website of the U.S. embassy

หมายเหตุ:

*ในบางครั้ง ผู้ขอวีซ่าอาจประมาทเลินเล่อ รีบยื่นขอวีซ่าในครั้งแรกโดยไม่ได้เตรียมตัวศึกษาข้อมูลให้ดีพอ กรอกแบบฟอร์มไม่เรียบร้อยครบถ้วน เตรียมเอกสารประกอบการขอวีซ่าน้อยเกินไปไม่แข็งแรง ระหว่างการสัมภาษณ์ตอบคำถามเจ้าหน้าที่กงสุลได้ไม่ชัดเจน ไม่หนักแน่นพอที่จะทำให้เจ้าหน้าที่มั่นใจว่า ท่านจะเดินทางกลับมายังประเทศไทยหลังเสร็จสิ้นภาระกิจในอเมริกา การขอวีซ่าของท่านจึงถูกปฏิเสธ 
**การยื่นขอวีซ่าชั่วคราวอเมริกาครั้งที่สอง (หรือครั้งต่อๆไป) ท่านควรรอให้เวลาผ่านไปอย่างน้อย 1-2 เดือนขึ้นไป เพื่อเตรียมตัวปรับปรุงเรื่องการเงิน หมุนเวียนเงินในบัญชีให้ดีขึ้นให้มากขึ้น เตรียมหลักฐานเรื่องการทำงานหรือธุรกิจการค้าให้หนักแน่นน่าเชื่อถือ เตรียมเอกสารแสดงความผูกพันกับประเทศไทยในทุกด้านที่ท่านสามารถทำได้เช่น ขอจดหมายรับรองจากบุคคลสำคัญ องค์กร/มูลนิธิ/สมาคมสำคัญในประเทศ (หากมีคนรู้จัก) เอกสารสื่อสิ่งพิมพ์แสดงตัวตนของท่าน ไม่ว่าด้านการงาน ด้านธุรกิจ ท่านเป็นสมาชิกองค์กรสำคัญทั้งภาครัฐบาลหรือเอกชน ประวัติการเดินทางไปต่างประเทศในโอกาสต่างๆ (ผู้ที่เดินทางมากกว่า มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น) เอกสารเกี่ยวกับพ่อแม่พี่น้องในแง่มุมด้านที่มีนัยสำคัญ (เช่นทำธุรกิจ การงาน สังคม การเมือง ที่ประสบความสำเร็จ) ฯลฯ สิ่งเหล่านี้อาจช่วยหักล้างเหตุผลเดิมๆในครั้งก่อน ที่ทำให้ท่านถูกปฏิเสธ
***ผู้ขอวีซ่าชั่วคราวที่มีประวัติการโยกย้ายถิ่นฐานถาวร หรืออยู่ในระหว่างกระบวนการยื่นขอวีซ่าถาวรอเมริกา หรือประเทศอื่นใด ควรเตรียมยื่นเรื่องขอวีซ่าชั่วคราวอเมริกาด้วยความระมัดระวังมากขึ้น ต้องจัดเตรียมเอกสารให้แข็งแรงเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่กงสุลให้เชื่อมั่นว่า ถึงแม้ท่านกำลังยื่นขอวีซ่าถาวรโดยมีเจตนาละทิ้งประเทศไทย มีความต้องการโยกย้ายถิ่นฐานถาวรไปอยู่ประเทศอื่น แต่เจ้าหน้าที่กงสุลมีความชอบธรรมที่จะอนุมัติวีซ่าชั่วคราวให้กับท่าน เพราะเมื่อท่านเสร็จสิ้นภาระกิจชั่วคราวในประเทศอเมริกา ท่านจะเดินทางกลับประเทศไทย โดยไม่โดดร่มแอบอยู่ถาวรในอเมริกา และจะโยกย้ายถาวรไปอยู่ที่อเมริกาหรือประเทศอื่นก็ต่อเมื่อ ได้รับอนุม้ติวีซ่าถาวรอย่างถูกต้องตามกฏหมายแล้วเท่านั้น

ตัวอย่าง: พลเมืองไทยไปเยี่ยมแฟนในอเมริกาในระหว่างที่เรื่องขอวีซ่าถาวรอเมริกายังไม่ได้รับอนุมัติ หรือ พลเมืองไทยไปติดต่อธุรกิจชั่วคราวในอเมริกา ในขณะเดียวกัน กำลังยื่นเรื่องขอวีซ่าถาวรแคนาดาเพื่อโยกย้ายถาวรไปอยู่ประเทศแคนาดา เป็นต้น   


Q.4 ผู้ใดมีอำนาจโน้มน้าวให้เจ้าหน้าที่กงสุล เปลี่ยนกลับคำตัดสินวีซ่าได้?
กฏหมายอิมมิเกรชั่นให้อำนาจและความรับผิดชอบแก่เจ้าหน้ากงสุลประจำการในสถานทูตอเมริกาทั่วโลก ในการพิจารณาอนุมัติหรือปฏิเสธวีซ่า เจ้าหน้าที่กงสุลเป็นผู้ตัดสินใจครั้งสุดท้ายในทุกๆเคส ภายใต้กฏหมาย ถึงแม้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ (U.S. Department of State) มีอำนาจทบทวนคำตัดสินของเจ้าหน้าที่กงสุล แต่จำกัดให้เฉพาะการตีความทางกฏหมายเท่านั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับการตัดสินจากข้อเท็จจริง ข้อพิพาทในประเด็นที่ว่าผู้ขอวีซ่ามีความผูกพันที่แข็งแรงกับถิ่นพำนักอาศัยถาวรหรือไม่นั้น เป็นประเด็นข้อเท็จจริงทั้งสิ้น  ดังนั้นเจ้าหน้าที่กงสุลจึงมีอำนาจเต็มในการใช้ดุลยพินิจตัดสินใจอนุมัติหรือปฏิเสธวีซ่า 

ผู้ขอวีซ่าไม่สามารถโน้มน้าวสถานทูตหรือสถานกงสุลให้เปลี่ยนกลับคำตัดสินปฏิเสธวีซ่าในครั้งก่อนได้ สิ่งที่ทำได้ก็โดยการยื่นขอวีซ่าใหม่ ยื่นเสนอหลักฐานใหม่ ชำระค่าธรรมเนียมใหม่ เท่านั้น 

คำถาม-คำตอบ วีซ่าธุรกิจ / วีซ่าท่องเที่ยว
Questions – Answers (Visitor Visas)

Q.1 ผู้ถือวีซ่าธุรกิจ / วีซ่าท่องเที่ยว พำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกาได้นานแค่ไหน?
ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (สนามบิน / ท่าเรือ) ในสหรัฐอเมริกา เมื่อมาถึง เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้ดำเนินการตรวจสอบ จะเป็นผู้พิจารณาว่าสมควรอนุญาตให้ท่านอยู่ในอเมริกาได้นานเท่าใด ผู้ถือวีซ่าสามารถเดินทางมาที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองได้จนถึงวันหมดอายุวันสุดท้ายที่ระบุในวีซ่า ช่วงเวลาระบุในวีซ่าไม่ได้หมายถึงระยะเวลาเท่าใดที่จะพำนักในอเมริกาได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย ในความเป็นจริง เมื่อท่านเดินทางมาถึงอเมริกา เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเป็นผู้ตัดสินใจ โดยทั่วไป นักเดินทางปรกติจะได้รับอนุญาตให้พำนักในอเมริกาได้นาน 6 เดือนต่อครั้ง ยกเว้นนักเดินทางบางคน หากมีข้อสงสัย เจ้าหน้าที่อาจอนุญาตให้พำนักในอเมริกาในระยะเวลาน้อยลง
 

Q.2 วีซ่าท่องเที่ยว (B-1/B-2) หมดอายุลงในระหว่างเดินทางเข้ามาในอเมริกาพอดี จำเป็นต้องขอวีซ่าใหม่ก่อนเดินทางออกไปจากสหรัฐอเมริกาหรือไม่?
ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวเดินทางเข้ามาอเมริกาได้ จนถึงวันหมดอายุสุดท้ายที่ระบุในวีซ่า เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ท่านอยู่ในอเมริกาได้นานเท่าใด วีซ่าท่องเที่ยวอาจหมดอายุลงในระหว่างที่ยังพำนักอยู่ในอเมริกา ซึ่งไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพียงระมัดระวังอย่าอยู่เกินเวลาที่ท่านได้รับอนุญาต
 

Q.3 วีซ่าชั่วคราวอเมริกาหมดอายุในอีก 6 เดือน ควรรอจนวีซ่าหมดอายุก่อนแล้วค่อยยื่นขอวีซ่าใหม่หรือยื่นขอวีซ่าล่วงหน้าได้เลย ขอวีซ่าอเมริกาล่วงหน้าได้กี่เดือน?
ไม่จำเป็นต้องรอจนวีซ่าหมดอายุ ท่านสามารถยื่นขอวีซ่าใหม่ตอนนี้ได้เลย แม้วีซ่าปัจจุบันยังไม่หมดอายุก็ตาม
 

Q.4 หากมีการเปลี่ยนชื่อใหม่ สามารถใช้วีซ่าอเมริกาที่ยังมีอายุอยู่ในชื่อเดิมได้ไหม?
หากมีการเปลี่ยนชื่อใหม่อย่างถูกต้องตามกฏหมาย โดยการจดทะเบียนสมรส หย่า หรือจากคำสั่งของศาล ท่านควรขอพาสปอร์ตเล่มใหม่แล้วนำไปยื่นขอวีซ่าใหม่ ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้า-ออกสหรัฐอเมริกาให้เป็นเรื่องง่ายและไม่มีปัญหาใดๆ
 

Q.5 วีซ่าอเมริกาได้รับอนุมัติตอนทำงานกับบริษัทเดิม ปัจจุบันข้าพเจ้าย้ายที่ทำงานใหม่ และนายจ้างใหม่ต้องการให้ไปร่วมงานสัมนาที่อเมริกาในเดือนหน้า ข้าพเจ้าสามารถใช้วีซ่าเดิมที่ถืออยู่ได้ไหม หรือต้องยื่นขอวีซ่าใหม่?
ท่านสามารถใช้วีซ่าอเมริกาเดิมที่ถืออยู่เดินทางเข้าไปในสหรัฐอเมริกาได้ ตราบใดที่วีซ่านั้นยังไม่หมดอายุ เพื่อเข้าไปติดต่อธุรกิจหรือไปท่องเที่ยว
 

Q.6 บุตรกำลังเรียนหนังสืออยู่ในอเมริกา ข้าพเจ้าไปพำนักถาวรอยู่กับลูกได้ไหม?
ท่านใช้วีซ่าชั่วคราว B-1/B-2 เดินทางเข้าไปในสหรัฐอเมริกาเพื่อไปเยี่ยมบุตรได้ (หรือไม่จำเป็นต้องมีวีซ่า หากเป็นพลเมืองประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่าเข้าอเมริกา) อย่างไรก็ตาม ท่านพำนักถาวรอยู่กับบุตรไม่ได้ หากท่านไม่ได้มีสถานะเป็นผู้ถือวีซ่าถาวรโยกย้ายถิ่นฐาน วีซ่าทำงาน หรือวีซ่านักเรียน

 
คำถาม-คำตอบ วีซ่าโครงการแลกเปลี่ยน
Questions – Answers (Exchange Visitor Visa Program)

Q.1 ข้าพเจ้าได้รับวีซ่าโครงการแลกเปลี่ยน ควรเดินทางเมื่อไหร่ดี?
นักท่องเที่ยวผู้ได้รับอนุมัติวีซ่าภายใต้โปรแกรมแลกเปลี่ยน ควรเดินทางเข้าอเมริกาภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มต้นของโปรแกรม ตามที่ได้ระบุไว้ในแบบฟอร์ม DS-2019 โดยไม่ต้องคำนึงว่าวีซ่าจริงได้รับอนุมัติเมื่อใด
 

Q.2 SEVIS system คืออะไร มีผลกระทบต่อข้าพเจ้าอย่างไร?
ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนแลกเปลี่ยนหรือผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนในอเมริกา The Student and Exchange Visitor Information System (SEVIS) กำหนดให้สถาบันการศึกษาและโครงการแลกเปลี่ยน ตรวจสอบสถานะของนักเรียนและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งผู้มาใหม่และผู้ที่ร่วมอยู่ในโครงการอยู่แล้ว ว่าได้มีการลงทะเบียนถูกต้องหรือไม่ โดยปรกติผู้ขอวีซ่าชั่วคราวโครงการแลกเปลี่ยนต้องจ่ายค่าธรรมเนียม SEVIS fee ก่อนวีซ่าจะได้รับอนุมัติ

Q.3 กฏสองปี (Two-year rule) คืออะไร?
กฏสองปี เป็นข้อบังคับภายใต้กฏหมายอิมมิเกรชั่นอเมริกาที่กำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน หลังเสร็จสิ้นภาระกิจในอเมริกาแล้ว ต้องเดินทางกลับไปยังประเทศบ้านเกิดและต้องพำนักอยู่ที่นั่น อย่างน้อยสองปี ผู้ขอวีซ่าสามารถเดินทางกลับเข้ามาในอเมริกาได้ ภายใต้วีซ่าประเภทอื่นเช่น วีซ่า H-1, L-1, K-1 และวีซ่าถาวร

อย่างไรก็ตาม กรณีได้รับยกเว้นไม่ถูกบังคับโดยกฏสองปีภายใต้เงื่อนไขบางประการ ท่านอาจไม่ต้องเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดตามกฏนี้ และสามารถขอวีซ่าประเภทอื่นเพื่ออยู่ต่อได้

ผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนที่ถือวีซ่า J-1 visa เมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจในอเมริกาแล้ว จำเป็นต้องกลับไปประเทศบ้านเกิดตามกฏสองปี โดยไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อในอเมริกา รวมทั้งไม่สามารถยื่นขอเปลี่ยนแปลงสถานะได้ เช่น ขอเปลี่ยนจากวีซ่า J-1 ไปเป็นวีซ่า H-1 หรือ ไปยื่นขอกรีนคาร์ด / สถานะประชากรถาวร Lawful permanent resident status (Green Card) 

โปรดสังเกตุ: ข้อบังคับสองปี จะบันทึกรายละเอียดไว้ในฟอร์ม DS-2019 ตอนอนุมัติวีซ่า J-1 ให้กับท่าน ในระหว่างอยู่ภายใต้กฏสองปี ท่านสามารถขอวีซ่าท่องเที่ยว Visitor visa หรือขอวีซ่าอเมริกาประเภทอื่น เพื่อเข้ามาในอเมริกาได้ (ยกเว้นวีซ่าบางประเภทที่กล่าวมาข้างต้น)

ฟอร์ม DS 2019 หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "Certificate of Eligibility" ออกให้กับนักศึกษาหรือผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน / ส่วน I-20 ออกให้กับนักศึกษาเรียนเต็มเวลา

Q.4 กฏสองปี ขอยกเว้นได้ไหม?
เป็นไปได้ หน่วยงานวีซ่าของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ มีอำนาจตัดสินใจยกเว้นการบังคับใช้กฏสองปี หากเห็นว่า ท่านมีคุณสมบัติเหมาะสมควรได้รับการยกเว้น หน่วยงานวีซ่าเป็นองค์กรที่มีอำนาจเต็มในเรื่องดังกล่าว 

 

คำถาม-คำตอบ วีซ่าทรานสิท / วีซ่าลูกเรือ
Questions – Answers (Transit/Ship Crew Visa)

Q.1 ในระหว่างเดินทาง ข้าพเจ้าวางแผนแวะพักที่อเมริกาเป็นเวลาหนึ่งวัน แล้วค่อยเดินทางต่อไปประเทศอื่นในวันถัดไป กรณีแบบนี้ ต้องขอวีซ่าทรานสิท C-1 หรือวีซ่าชั่วคราว B-1/B-2 หรือไม่?
หากท่านต้องการหยุดพักและถือโอกาสแวะเข้าไปในอเมริกาเพื่อเยี่ยมเพื่อนหรือเข้าไปท่องเที่ยวในระยะเวลาสั้นๆ ท่านจำเป็นต้องมีวีซ่าเข้าอเมริกาเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวเช่น ถือวีซ่าชั่วคราว B-2 เป็นต้น

 

คำถาม-คำตอบ วีซ่าผู้ทำงานด้านศาสนา
Questions – Answers (Religious Worker Visa)

Q.1 ข้าพเจ้ากำลังขอวีซ่าผู้ทำงานด้านศาสนา แต่ไม่ได้ยื่นคำร้องขอใบอนุญาตทำงานแต่อย่างใด เนื่องด้วยก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าเคยได้รับอนุมัติวีซ่า R-1 และไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงานแต่อย่างใด ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ข้าพเจ้าจึงยื่นขอเพียงวีซ่า R-1 โดยไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตทำงานได้ไหม?
กฏหมายใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 28 November 2008 กำหนดให้ผู้ขอวีซ่าชั่วคราว R-1 ต้องขอรับใบอนุญาตทำงาน อนุมัติโดยหน่วยงานอิมมิเกรชั่นอเมริกา U.S. Citizenship and Immigration Services (USCIS)



คำถาม-คำตอบ ติดตามพาสปอร์ตคืน
Questions – Answers (Track My Passport)

Q.1 ทำไมต้องส่งพาสปอร์ตแยกในซองของใครของมัน ทำไมไม่ส่งรวมทีเดียวทั้งครอบครัวเพื่อลดค่าธรรมเนียมการส่งคืนพาสปอร์ต?
ทางสถานทูตฯไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มแต่อย่างใดสำหรับการส่งคืนพาสปอร์ต ค่าจัดส่งเอกสารถูกเก็บรวมอยู่ในค่าธรรมเนียมขอวีซ่าแล้ว เหตุที่ต้องส่งพาสปอร์ตแยกซอง เนื่องมาจากบริษัทขนส่งพัสดุมีข้อบังคับด้านความปลอดภัย ที่กำหนดให้การจัดส่งพาสปอร์ตแต่ละเล่ม ต้องมีหมายเลขการติดตาม tracking number แยกกัน
 

Q.2 ข้าพเจ้าจะได้รับพาสปอร์ตคืนอย่างไร หลังจากสัมภาษณ์เรียบร้อยแล้ว?
ท่านไปรับพาสปอร์ตคืนได้ ที่สาขาของบริษัทขนส่งพัสดุที่ได้เลือกไว้ตอนจองวันนัดสัมภาษณ์ หากต้องการเปลี่ยนสถานที่ใหม่ ท่านยื่นเรื่องขอเปลี่ยนแปลงได้ถึงจนเวลา 11:59 น. ก่อนวันสัมภาษณ์หนึ่งวัน ในกรณีจำเป็นต้องเดินทางเร่งด่วน ให้ท่านเลือกไปรับพาสปอร์ตคืนที่สำนักงานไปรษณีย์รองเมือง เพื่อรับพาสปอร์ตได้เร็วขึ้น ค่าจัดส่งพาสปอร์ตรวมอยู่ในค่าธรรมเนียมขอวีซ่าแล้ว

Q.3 ต้องแสดงเอกสารใด ตอนไปรับพาสปอร์ตคืนจากสำนักงานสาขาบริษัทขนส่งพัสดุ?
เพื่อให้มั่นใจว่า พาสปอร์ตไม่ได้ถูกส่งมอบให้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้รับตามกฏหมาย ท่านต้องแสดงเอกสารประจำตัวออกโดยหน่วยงานราชการที่มีรูปถ่ายของท่าน ในตอนมารับพาสปอร์ต รวมทั้งเซ็นเอกสารทุกรายการที่ตัวแทนบริษัทขนส่งพัสดุยื่นให้กับท่าน
 

Q.4 กรณีให้บริษัทขนส่งพัสดุนำพาสปอร์ตมาส่งให้ที่บ้าน หากบังเอิญข้าพเจ้าไม่อยู่บ้านตอนเจ้าหน้าที่มาส่ง จะมีปัญหาไหม?
เจ้าหน้าที่ส่งพัสดุจะจัดส่งพาสปอร์ตไปยังที่อยู่แจ้งไว้ตอนท่านทำการจองวันนัดสัมภาษณ์ หากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถส่งพัสดุให้ได้เช่น ไม่มีคนอยู่บ้าน เจ้าหน้าที่จะทิ้งใบเตือนแจ้งให้ทราบว่าได้มาส่งพัสดุให้กับท่าน หากได้รับใบเตือนดังกล่าว ให้รีบติดต่อบริษัทขนส่งพัสดุทันที หากพาสปอร์ตยังไม่ได้จัดส่งให้ท่านภายใน 15 วันทำการ พาสปอร์ตจะถูกส่งกลับไปยังสถานทูตหรือสถานกงสุลอเมริกา ในกรณีนี้ ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์บริการลูกค้า Call center
 

Q.5 พาสปอร์ตจำเป็นต้องส่งคืนไปที่บ้านของข้าพเจ้าเพียงแห่งเดียวหรือไม่?
ไม่จำเป็น พาสปอร์ตอาจถูกจัดส่งไปยังที่ทำงานหรือส่งไปที่สมาชิกในครอบครัวก็ได้ หากพาสปอร์ตถูกแจ้งให้ส่งไปยังบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวท่าน ผู้รับพาสปอร์ตต้องแสดงเอกสารประจำตัวออกโดยราชการที่มีรูปถ่าย ในการรับพาสปอร์ตแทนท่าน
 

Q.6 ต้องแสดงเอกสารใดต่อเจ้าหน้าที่จัดส่งพัสดุ เมื่อนำพาสปอร์ตมาส่งคืนให้ข้าพเจ้า?
เพื่อให้มั่นใจว่า พาสปอร์ตไม่ได้ถูกส่งมอบให้กับบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ผู้รับตามกฏหมาย ท่านต้องแสดงเอกสารประจำตัวออกโดยหน่วยงานราชการที่มีรูปถ่าย เพื่อแสดงตัวตนตอนรับพาสปอร์ตคืน รวมทั้งต้องเซ็นเอกสารทุกรายการที่เจ้าหน้าจัดส่งพัสดุยื่นให้กับท่าน
 

Q.7 เอกสารประจำตัวประเภทใด ที่ใช้ในการยืนยันตัวตน?
ท่านต้องแสดงเอกสารประจำตัว (ตัวจริง) ออกโดยหน่วยงานราชการที่มีรูปถ่าย
 

Q.8 บุคคลอื่นสามารถไปขอรับพาสปอร์ต หรือรอรับพาสปอร์ตแทนข้าพเจ้าได้ไหม?
รับแทนได้ อย่างไรก็ตามบุคคลที่เป็นตัวแทน ถึงแม้เป็นสมาชิกในครอบครัว ต้องแสดงเอกสารต่อไปนี้ จึงจะขอรับพาสปอร์ตแทนได้:
• เอกสารประจำตัวประชาชน (ตัวจริง) ของตัวแทน ออกโดยราชการมีรูปถ่ายตัวจริง
• สำเนาเอกสารประจำตัวประชาชน ของเจ้าของพาสปอร์ต ออกโดยหน่วยงานราชการมีรูปถ่าย
• หนังสือมอบอำนาจเซ็นโดยเจ้าของพาสปอร์ต มอบอำนาจให้ตัวแทนไปรับพาสปอร์ต โดยหนังสือมอบอำนาจต้องระบุข้อมูลต่อไปนี้:
- ชื่อ-นามสกุลตัวแทนตามที่ระบุในเอกสารประจำตัว ออกโดยราชการมีรูปถ่าย
- ชื่อ-นามสกุลเจ้าของพาสปอร์ต

หากเจ้าของพาสปอร์ตมีอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องใช้เอกสารดังนี้:
- หนังสือมอบอำนาจตัวจริง เซ็นชื่อโดยผู้ปกครองคนใดคนหนึ่ง
- สำเนาเอกสารประจำตัวประชาชนออกโดยหน่วยงานราชการมีรูปถ่าย ของผู้ปกครองผู้เซ็นชื่อในหนังสือมอบอำนาจ
- เอกสารประจำตัวประชาชน (ตัวจริง) ของตัวแทน ออกโดยหน่วยงานราชการมีรูปถ่าย
หมายเหตุ: ในกรณีของกลุ่มหรือครอบครัว สามารถใช้หนังสือมอบอำนาจเพียงใบเดียว ที่ระบุข้อมูลครบถ้วนของผู้ขอวีซ่าแต่ละคน

 

Q.9 มีค่าธรรมเนียมต้องชำระให้กับบริษัทขนส่งพัสดุหรือไม่?
ไม่มี ค่าจัดส่งพัสดุได้รวมอยู่ในค่าธรรมเนียมขอวีซ่าชั่วคราวหรือวีซ่าถาวรแล้ว

 

คำถาม-คำตอบ ข้อมูลโปรไฟล์ผู้ขอวีซ่า
Questions – Answers (Applicant Profile)

Q.1 วิธีการตั้งค่าพาสเวิร์ด ทำอย่างไร?
คลิกที่ลิ้งค์ Forgot Your Password? ด้านล่างของหน้าเว็บ this web page จากนั้นใส่อีเมล์แอดเดรสลงในช่อง Username แล้วคลิก Submit อีเมล์แอดเดรสที่พิมพ์ลงไปต้องตรงกับอีเมล์ที่กรอกเข้าไปตอนเริ่มต้นกระบวนการกรอกใบสมัครขอวีซ่า รหัสใหม่จะถูกส่งไปยังอีเมล์ที่ให้ไว้

หมายเหตุ: อีเมล์ที่ใช้ส่งรหัสไปให้ท่าน ส่งมาจาก no-reply@ustraveldocs.com หากไม่ได้รับอีเมล์ดังกล่าว โปรดตรวจดูที่โฟลเดอร์เก็บอีเมล์ขยะ Junk หรือ Spam Emails อีเมล์อาจถูกย้ายไปเก็บไว้ที่นั่น

Q.2 ข้าพเจ้าต้องย้ายไปอยู่ประเทศอื่นหลังจากได้ลงทะเบียนข้อมูลโปรไฟล์ส่วนตัวไว้เรียบร้อยแล้วที่เว็บ www.ustraveldocs.com หากต้องการทำเรื่องขอวีซ่าใหม่ กรอกใบสมัครชุดใหม่ ไปยื่นเรื่องในประเทศใหม่ ซึ่งไม่ใช่ประเทศก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าได้ยื่นใบสมัครไว้แล้ว กรณีนี้ควรทำอย่างไร?
ไม่จำเป็นต้องสร้างโปรไฟล์ใหม่ หากประเทศที่ย้ายไปยังอยู่ภายใต้การดูแลโดย CGI ท่านเพียงติดต่อไปที่หน่วยงานผ่านทางหน้าเว็บ website แล้วแจ้งหมายเลขพาสปอร์ต หมายเลข UID หรืออีเมล์แอดเดรส เพื่อกลับไปยังโปรไฟล์เดิมที่ลงทะเบียนไว้แล้ว เพื่ออัพเดตข้อมูลเป็นประเทศใหม่ที่ต้องการทำเรื่องยื่นขอวีซ่าอเมริกา
*หากประเทศใหม่นี้ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลโดย CGI ท่านจำเป็นต้องสร้างโปรไฟล์ขึ้นมาใหม่
โปรดสังเกตุ: ค่าธรรมเนียมลงทะเบียน MRV ที่ได้ชำระไปแล้วในประเทศหนึ่งประเทศใด ไม่สามารถโอนย้ายเพื่อไปทำเรื่องในประเทศอื่นได้

 

Visitors: 569,726